SugarCRM Community Version ฟรี ผลการทดสอบบน Sales Team จริง!

sugar-crm-community-test

พักนี้ได้มีโอกาสลองศึกษา โปรแกรมจัดการ “ความสัมพันธ์กับลูกค้า” หรือที่เห็นเยอะคนเรียกมันว่า “CRM” (customer relationship management) ตัวที่ผมเลือกเอามาเล่นก็คือ SugerCRM เพราะว่า เป็นตัวที่มีการ install ผ่านทาง Webhosting พวกเมืองนอกทั่วไปผ่าน SimpleScript ได้ครับ เช่น ที่ iPage.com นี่ก็ถ้าหากว่าเข้าไปที่ Control panel แล้วก็มองหา Simple Script > SugerCRM จะอยู่ใน List ที่ให้คุณกดเพื่อ install ได้ทันทีครับ เรียกว่า ขั้นตอนการ install CRM ตัวนี้ก็ไม่ต้องเข้าไปหาวิธีการ install เลยก็ว่าได้

สำหรับการทดสอบแล้ว การที่ทำให้คน install CRM ได้ง่ายๆแบบนี้ ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับคนที่สนใจ (บ้าง.. ไม่ต้องมากนักมาทดสอบใช้งานกันครับ) แต่ว่า Version ของ SugarCRM ตัวนี้จะเป็น Community Version ครับ แปลว่า มันไม่ได้เป็น Version ที่เสียเงินแต่ประการใด แต่ว่า Function การใช้งานก็จะไม่ได้หรูหรามากๆ เหมือนกับ Version ที่เสียเงินครับ  ถ้าหากว่าคุณอยากรู้ว่า ระหว่าง version เสียเงินและ version แบบไม่เสียเงิน (แบบที่ผมใช้อยู่) นี่มันแตกต่างกันตรงไหน เข้าไปที่นี่เพื่อดู ตารางการเปรียบคุณสมบัติ SugarCRM ไม่เสียเงินกับแบบเสียเงิน ได้ครับ

แต่อย่างไรก็ดีครับ สำหรับผมแล้ว การ upgrade เข้าไปที่เป็น version ที่เสียเงินนั้น น่าจะมีประโยชน์เฉพาะในส่วนของ Reporting แล้วก็ Mobile เสียมากกว่า เพราะว่า Reporting จะเป็นการทำให้คุณเอาเงื่อนไขมาแสดงได้อย่างอิสระว่า เราจะเลือกเงื่อนไขอะไรอย่างไรมาแสดงเป็นรายงาน เป็น list ได้ครับ แล้วก็อีกเรื่องก็คือ เรื่องของ Mobile ถ้าหากว่าคุณเสียเงินเป็น version pro สักหน่อย จะทำให้ user ทั้งหมด access SugerCRM บน mobile phone หรืออุปกรณ์สื่อสารทั้งหมดได้ด้วย interface ที่เหมาะกับ mobile phone ครับ ทั้งนี้เมื่อผมเทียบกับราคาที่ต้องจ่ายแล้ว ก็ออกแนวเครียดนิดหน่อยสำหรับ องค์กรที่ไม่ได้ตั้งงบเอาไว้เพื่อนการติดตามงานขายโดยเฉพาะครับ หรือว่า องค์กรที่ไม่เค้ย ไม่เคยเลยแม้แต่จะคิดว่า มันต้องเอาระบบใดๆมาครอบเพื่อติดตาม จัดการมันครับ

อีกอย่างที่ผมไม่ได้ upgrade เป็น version ที่หรูหรา (เสียเงิน) ก็เพราะว่า ค่าใช้จ่ายอาจจะดูเหมือนแพงเพราะว่าเดี๋ยวนี้ CRM ทั้งหมด จะเป็นการเรียเก็บเงินต่อ User กันทั้งนั้นน่ะครับ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft CRM ,SageCRM หรือว่าแม้กระทั่ง SugerCRM เองก็ตามทีครับ ราคาโดยเฉลี่ยน่าจะประมาณ user ละ หมื่นกว่าบนขึ้นกับทุกจ้าวทั้งนั้นน่ะครับ นั่นก็แปลว่า ถ้าหากว่าแค่ Community Version คุณใช้การได้ดีแล้วก็อาจจะพอแล้วก็ได้น่ะครับ ของอย่างนี้ไม่ลองไม่รู้น่ะครับว่า คำว่าพอมันอยู่จุดไหนกันน่ะครับ แต่ผมอยากจะให้คุณได้ลองกันเพราะว่า คุณเดาไม่ถูกหรอกครับว่า เมื่อมีการใช้งานแล้ว มันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ความต้องการจะพุ่งไปมากแค่ไหน แล้วก็ความสะดวกที่เกิดขึ้นนั้น หรือ แม้กระทั่งข้อมูลในการติดตามความสัมพันธ์ และ การทำงานของทีมขายของคุณนั้น มันมีมูลค่าต่อคุณมากแค่ไหน

การใช้ SugarCRM community version นั้นจะเหมาะกับองค์กรที่ไม่เคยคิดจะใช้ software ใดๆเพื่อมาจัดการ การทำงานของ sales เลย โดยอาจจะมีก็มีเป็นกระดาษและรายงานไม่สามารถแสดงผลแบบคัดกรองได้เป็นระบบมากนัก การใช้กระดาษนั้นจะทำให้พนักงานมากรอกกันทีหลัง โดยไม่ได้ทำเป็นรายงานส่งเข้ามาเป็นประจำ แต่ถ้าหากว่าเป็นการบันทึกผ่านระบบ computer ไม่ว่าด้วย software ใดๆก็ตามจะทำให้ sales ต้องทำการบันทึกด้วยเวลานั้นๆ เพราะว่า create date จะมีการบันทึกเอาไว้ครับ เหมือนกับว่าเป็นการบังคับไปในตัวว่าต้องบอกว่า คุณไปทำอะไรที่ไหนอย่างไร และได้เรื่องได้ราวว่าอย่างไรกันน่ะครับ และ รายงานดังกล่าวของ activity ของ sales คนนั้นๆ ก็จะแสดงเป็นหน้า report ผ่าน DaskBoard แบบง่ายๆให้ คนที่เป็น supervisor ได้เห็นกันคาตา และติดตามงานกันได้สะดวกครับ

ใช้ Concept ของ Cloud Software ให้เป็นประโยชน์ !  (แล้วมันคืออะไรเหรอ ?)

เดี๋ยวนี้ computer ทุกเครื่อง และ อุปกรณ์สื่อสารเกือบทั้งหมดที่ผมใช้งานอยู่ จะต่อ internet ได้ทั้งนั้นผ่าน Browser ของแต่ละอุปกรณ์ ทำให้ถ้าหากว่าข้อมูลใดๆ หรือ software ที่เราเอาใช้นั้นอยู่ใน internet หรือเข้าผ่าน internet ได้ก็น่าจะดีกว่าเป็นไหนต่อไหน เรียกได้ว่า concept แบบนี้ ตอนนี้โลกเราจะโม้ว่ามันเป็น Cloud ครับ (ก้อนเมฆนี่เอง) ข้อดีของการใช้ software แบบ Cloud นี้ก็เป็นเหมือนกับที่ผมบอกไปตะกี้ก็คือ เข้าที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ จากเครื่องแบบไหนก็ได้ แล้วก็เมื่อไหร่ก็ได้ครับ ซึ่งตรงกันข้ามกับ Software แบบที่ install เอาไว้ครับ เช่น ถ้าหากว่า computer หรือโปรแกรมที่คุณซื้อมามันเป็น software ที่ต้อง install กว่าจะใช้ program นั้นได้ก็ต้องอยู่กับเครื่อง computer ทีมี License ของ program นั้น หรือว่าก็ต้องอยู่กับเครื่องที install เอาไว้แล้ว แย่ไปกว่านั้นก็คือ License อาจจะคิดว่า เมื่อ Hard Drive คุณพังไปแล้วก็ถือว่า License นั้นก็พังตามไปด้วย ถ้าหากว่าอยากจะเอาไปใช้กับเครื่องอื่น หรือว่าเครื่องใหม่ (เพื่อเอามาแทนตัวเก่านี่น่ะหละ) ก็ต้องซื้อ License กันใหม่ก็ว่าได้น่ะครับ อันนี้ก็ไปแย้งเค้าไม่ได้เหมือนกันน่ะครับ โลกเราก็เป็นแบบนี้น่ะครับ

ลองคิดดูแล้วกันน่ะครับว่า software และการใช้งานของทั้งสองสถานการณ์ มันแตกต่างกันแบบฟ้ากับดินเลยก็ว่าได้ ทำให้ Google เองก็จะออก computer ที่มี software แบบ Cloud แล้วก็เรียกมัน่วาเป็น App เหมือนว่าต้อง install แต่มันจริงๆแล้วมันก็เป็นแค่ link เพื่อไปยังหน้า website ที่ให้บริการอะไรบางอย่างผ่าน internet website หรือเข้าได้ผ่าน Browser ได้ก็เท่านั้นเองน่ะครับ ตลกดีเนาะ  (แต่ก็่ว่าเค้าไม่ได้น่ะครับเพราะว่าเค้าก็พยายามที่จะทำให้ Browser Chrome ของเค้าเองเนี่ยะ มันทำงานอะไรได้มากกว่าปกติมากๆครับ เห็นว่าตอนนี้มีการใช้งาน HTML5 ซึ่งมันเป็นอะไรก็ไม่รู้แต่ว่าจะทำให้ user experience แตกต่างออกไปจากเดิมได้มากๆครับ ไว้รอดูกันน่ะครับ)

และนี่ก็เป็นเหตุว่าทำไมผมเลือกทดสอบ SagarCRM ผ่าน hosting แบบที่เป็น share ครับ SugarCRM นั้นอย่างที่ผมบอกผม install ผ่านการกดปุ่มแค่ปุ่มเดียวที่ Web Hosting ของ iPage.com ครับผม

โม้ออกทุ่งไปตั้งยาวว่าแต่ว่า .. ทำไมต้อง CRM ด้วยล่ะ ?

CRM จะทำหน้าที่เพื่อทำให้การติดตามงานของพนักงานว่าทำงานอะไรที่ไหนเมื่อไหร่อย่างไร โดยผมจะบอกเป็นประเด็นๆไปแล้วกันนะครับว่า ที่ผมกำลังทดสอบใช้งาน SugarCRM Community Version (one click install ด้วย ipage.com) เนี่ยะ .. ผม เอาไป (บังคับ) พนักงานทำอะไรกันบ้าง

ติดตามการนัดหมายของพนักงานขายกับลูกค้า

นัดหมายให้ผมเห็น : ปกติแล้วเป็น sales ที่ต้องขายของ ก็ต้องเดินทางออกไปหาลูกค้านอก office เป็นธรรมดาครับ เพื่อ ติดตาม ติดต่อ พูดคุย สร้างสัมพันธ์ (เช่นพาไป pub coyote เป็นต้น) และอื่นๆครับ ทั้งหมดนี้เป็นการนัดหมาย และ ควรจะแจ้งให้กับหัวหน้าได้ทราบว่า  week หน้าที่กำลังจะถึงเนี่ยะ คุณพนักงานขายจะพาลูกค้าหรือว่าจะไปหาลูกค้ารายไหน แล้ว คุยเรื่องอะไรกัน มองแค่นี้มันเป็นเหมือนกับ Google Calendar ยังไงอย่างงั้นน่ะครับ แต่ว่านี่เป็นการใช้งานเฉพาะเรื่องงานเท่านั้น แต่ไม่มีข้อมูล เรื่องส่วนตัวปนเปอยู่แต่ประการใดครับ แน่นอนว่า ระบบนี้ผมไม่ได้ทำการทดสอบ Sync เข้ากับ Calendar ใน mobile phone ครับเพราะว่า ถ้าหากว่าผมทำผมก็ต้องให้พนักงานขายใช้ Calendar บน OS (mobile) ทีเหมาะสม (หรือว่าที่ผมทำได้เท่านั้นน่ะครับ) มันก็จะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายเฉยๆน่ะครับ ก็เลยเอาเป็นแค่ว่า ไม่ต้อง Sync หรอกก็แค่ บอกซะหน่อยว่า กำลังจะไปไหน นัดลูกค้ารายไหนเพื่อคุยอะไรกัน แล้วผลออกมาเป็นอย่างไร แค่นั้นก็พอแล้วครับ ซึ่ง SugarCRM commnity version ตัวนี้ก็ทำได้อย่างแน่นอนเพราะว่ามัน Basic เอามากๆนะครับ

ติดตามงานย่อยต่างของพนักงานขาย

เพื่อให้สร้าง task ที่เกี่ยวกับงานของพนักงานเองและหัวหน้างาน Assign task ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ตัวอย่างสินค้า หรือติดตามงานอะไรเป็นพิเศษที่ไม่ได้เป็นงานขาย (พนักงานต้องทำงานอย่างอื่นที่ไม่ใช่งานขายด้วยน่ะครับ เช่น จัดงานออกบู้ท หาของมาเพื่อออกบู้ท หรือว่า ตามเอาตัวอย่างอะไรที่ไม่ได้เอาไปขาย แค่ทำเป็น prototype เป้นต้นน่ะครับ เยอะๆ เรียกว่า พนักงานขายก็ไม่ได้แต่งานขายน่ะครับ ระดับนี้แล้วทำได้หมดน่ะครับ) ตัว Task ก็จะแสดงทั้งของตัวเองและคนอื่นๆเพื่อให้ติดตามกันได้สะดวก แล้วก็มา mark status กันว่าเป็นอย่างไร ทำอะไรไปถึงไหนอย่างไร แล้วก็พิมพ์รายละเอียดเก็บเอาไว้ด้วยก็ได้น่ะครับ

ติดตามโอกาสขายของพนักงานขายทุกคน

ติดตาม “โอกาสขาย” หรือเรียกกันว่า “sales Opportunities” นั้นเป็นงานหลักๆ สำหรับคนที่เป็น Supervisor หรือคนที่ดูแลทีมขายทั้งหมดครับ โดยสำหรับ SugarCRM ตัว Community ตัวนี้จะไม่สามารถแบ่งกลุ่มก้อนของทีมขายได้ครับ (นี่ก็เป็นอีกข้อจำกัดหนึ่งครับ แต่ว่าสำหรับองค์กรทั่วไปแล้ว ก็น่าจะมีกลุ่มก้อน sales team แค่ทีมเดียวเพื่อ product ประเภทเดียวอยู่แล้วครับ) ซึ่งการแยกกลุ่ม sales นั้นถ้าหากว่าเป็นองค์กรใหญ่กว่านั้น ผมก็สามารถแนะนำว่า คุณแยก install CRM ให้มากกว่า 1 URL ก็ได้ครับ เช่น crm1.yourdomainname.com , crm2.yourdomainname.com และอื่นๆ เพื่อเป็นการแยกทีมกันน่ะครับ แต่คุณจะดูทีเดียวทั้งหมดไม่ได้น่ะครับเท่านั้นเอง (อย่างว่าถ้าหากว่าอยากจะเจ๋งกว่านี้ก็ Upgrade จ่ายเงินซึ่งแน่นอนว่านั้นไม่ได้เป็น policy ของผมตอนนี้ครับ)

การติดตามโอกาสขายถือได้ว่าเป็น High Light ของเรื่องนี้ทั้งหมด เพราะว่าจะมีตัวเงินเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว และ ทุกๆครั้งที่ sales มีการเปิดงานขายใหม่ ก็ควรจะทำการ note บันทึกและบอกกล่าวให้กับหัวหน้าได้ทราบ พร้อมทั้งแสดงตัวเลขเงินที่คาดว่าน่าจะเป็นยอดซื้อได้ เพื่อให้หัวหน้าติดตามงานนั้นได้อย่างใกล้ชิดจริงๆครับ แน่นอนว่า ข้อมูลที่จะมีอยู่ในเรื่องของโอกาสขายพนักงานขายจะกรอกข้อมูลว่า โอกาสขายนั้นชื่ออะไร ใครเป็นคนเปิดโอกาสขายนี้ ลูกค้ารายนี้มาจากไหน (หรือเรียกว่า Lead Source แหล่งที่มาของลูกค้า เช่นมาจาก email mass ที่ส่งไป หรือว่ามาจากลูกค้า Google มาหา หรือว่าเป็นลูกค้าที่ติดต่อผ่านทางหน้าร้าน เห็นร้านแล้วเดิมแวะเข้ามาเป็นต้น) นอกจากนี้ sales เองจะต้องประเมินด้วยว่า โอกาสปิดการขายนั้นน่าจะเป็นสักเท่าไหร่ (มันก็แค่กรอกตัวเลขเป็น % เท่านั้นเองครับ) แต่ว่าตัวเลขตัวนี้จะได้มาจากดูหน้าตาของลูกค้า ผ่าน sense การขายของพนักงานเอง ว่าจะประเมินสักเท่าไหร่ แต่ว่าถ้าหากว่า คุณไม่มี sense ก็จะมีค่าตั้งต้นเอาไว้ขึ้นกับ status ของโอกาสขายนั้นครับ

โอกาสขายจะต้องมีการระบบ stage of sales หรือ sales status หรือเรียกเป็นไทยๆ อย่างผมว่าก็คือ สถานะการขาย โดยมากแล้ว สำหรับสินค้าเป็นกลุ่มก้อน ที่ผมกำหนดเข้าไปใน SugarCRM Community Version นี่ผมก็ไปแก้มันให้เป็น status ประมาณที่หัวหน้างานเข้าต้องการจะทราบ เช่น เพิ่งเปิดใหม่ / กำหนด Spec. / เสนอราคา / อยู่ระหว่างต่อรอง / ปิดการขายชนะ / ปิดการขายแพ้ เป็นต้นน่ะครับ ซึ่งแนนอนว่า status ของ sale stage พวกนี้ คุณหัวหน้างานหรือคนที่ดูแลทีมขายนั้นต้องบอกมาก่อนน่ะครับว่าอยากจะเห็นสถานะแบบไหน เพราะ ที่หน้า DaskBoard จะมีการแสดงเป็นกราฟเหมือนกับเป็น Pipeline หรือเป็นกราฟแท่งเพื่อบอกสรุปผล ว่ามีจำนวนเงินอยู่ใน stage ใดจำนวนเท่าไหร่ เพื่อให้ดูได้ว่างานมันจะดองกันที่ stage ไหนเยอะสุด ทำไมมันไม่ได้ แปลงสภาพมาเป็น “ยอดขาย” ได้สักที อะไรทำนองนี้น่ะครับ อันนี้ต้องแล้วแต่มิติของตัวหัวหน้าคนดูเองว่าจะดูอะไรอย่างไร แล้ว มันจะแปลความหมายอะไรได้หรือไม่มากกว่าครับ แต่ก็อีก เรื่องแบบนี้ต้องลองเท่านั้นถึงจะรู้ คนไม่เคยลองก็ไม่เคยรู้น่ะครับ เผื่อว่าจะเห็นข้อมูลอะไรมากขึ้นครับผม

รายชื่อ บริษัท และบุคคลที่ติดต่อทั้งหมดต้องอยู่ในระบบ

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะ sales ที่ติดต่อกับลูกค้าหากว่าไม่ได้กรอกข้อมูลบันทึกใดๆ เข้าระบบด้วยกระดาษหรือเอกสาร อะไรเลยข้อมูลนั้นจะเลือนหายไปตามกาลเวลา หรือ อย่างดีที่สุดก็จะอยู่ที่มือถือของพนักงานขายเท่านั้น แต่ก็ดูไม่ออกอยู่ดีว่าเค้าตั้งชื่อเล่นว่าอะไร แล้วอีกอย่างผมว่าหัวหน้าหรือทางบริษัทเองก็ไม่น่าจะเข้าไปเอามือถือของพนักงานขายเองมาไล่กดดูว่า ลูกค้าเบอร์ติดต่ออะไรครับ เพราะฉะนั้นแล้ว “ต้องให้พนักงานขายทั้งหมด” เอา contact list หรือรายชื่อ และช่องทางการติดต่อเอามา Post ใส่เข้าระบบ แล้วแบบนี้จะแตกต่าง หรือ เป็นการบังคับได้มากขึ้นกว่าการที่เขียนข้อมูลกระดาษอย่างงั้นหรือ? แน่นอนว่าถ้าหากว่าเป็นข้อมูลกระดาษ เมื่อมีการกรอกข้อมูลแล้ว จะมีแค่คนทีทำหน้าที่รับกระดาษ (หรือเรียกเท่ห์กว่านั้นก็เรียกว่าเอกสารก็แล้วกัน) ดูคร่าวๆ โดยคนที่เกี่ยวข้องว่าข้อมูลมีกรอกไว้ อ่านออกหรือไม่ แล้วก็เก็บเข้า filing แล้วก็เอาเข้าตู้ครับ

ถ้าหากว่าคุณคิดว่าคุณมีข้อมูลลูกค้าแล้วคุณอาจจะคิดผิดก็ได้เพราะว่า contact ที่ผมบอกอยู่นี่คือ contact ของคนทีติดต่ออยู่ สำหรับโอกาสขายใดๆที่เกิดขึ้นแล้วทั้งหมดครับ และ นอกจากนี้จะต้องมีข้อมูลอีกประเภทที่แม้แต่ว่ายังไม่ได้มีการ contact ติดต่อกับเกิดขึ้นก็มีการกรอกข้อมูลติดต่อเหล่านั้นได้ด้วย คือให้สร้างไปที่ Lead (ผมเรียกกันเองภายในว่าผู้มุ่งหวังครับ) ซึ่งความแตกต่างระหว่าง lead และ contact ที่อยู่ในระบบ CRM โดยทั่วไปก็คือ lead คือ คนที่ยังไม่ได้มีการ contact กันมาก่อน หรือว่ายังไม่ได้มีการเข้าไปเสนอสินค้าอะไร แต่อาจจะได้มาจาก List รายชื่อที่ซื้อมา หรือว่าไล่ดูจากสมุดหน้าเหลืองก็ยังได้น่ะครับ หรือว่าแม้กระทั่ง Google เอาด้วย keyword แบบฉลาดๆครับ แล้วก็เอา เบอร์โทรศัพท์ ชื่อ คนที่จะติดต่อเหล่านั้นมากรอกเอาไว้ที Lead ครับผม ส่วน contact คือ อาจจะเป็น lead ก็ได้แล้วก็มีการ convert หรือแปลงสภาพมาเป็น contact ครับ เหตุผลก็คือ contact คือคนที่มีการติดต่อแล้ว และเกี่ยวข้องกับโอกาสขายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ คนที่พนักงานนั้นๆมีการติดต่อด้วยเหตุผลอื่นๆก็ได้ครับ สรุปง่ายคือ lead ยังไม่ได้ติดต่อ ส่วน contact คือคนที่พนักงานติดต่อแล้ว ได้คุยได้อะไรกันบ้างแล้วเท่านั้นเองครับ Lead จะไกลตัวกว่า contact มากครับ ส่วน Target ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ CRM จะมีการพูดถึง แต่ก็อีกในระบบไม่ได้แสดงอะไรไว้ เพราะงั้นผมก็ไม่ได้พูดถึงเอาไว้ตอนนี้ก็แล้วกันนะครับ

ว่ากันมาเสียตั้งยาวสรุปกันนิดนึงครับเกี่ยวกับการใช้ SugarCRM

ลองคิดดูว่า เมื่อคุณไม่ได้มีข้อมูลในระบบใดๆ การย้ายงานของพนักงาน หรือ การที่หัวหน้าเองจะติดต่อได้เองก็จะกระทำไม่ได้ (เพราะแค่เบอร์ก็ไม่มีอะไรทำนองนั้น) ซึ่งถ้าหากว่าระบบไม่ได้มีสร้างเอาไว้เลย เหตุการณ์และความรู้สึกว่า พนักงานผูกตัวกับลูกค้านั้นจะเกิดขึ้น ซึ่งในมุมมองของ บริษัท หรือองค์กรไม่ได้อยากจะให้เป็นอย่างงั้นแน่นอนะครับเพราะ งานใดๆ ไม่ควรจะผูกติดกับความเป็นส่วนตัวหรือความเป็นปัจเจกบุคคลของพนักงานมากนักครับ ถ้าหากว่ามีก็มีได้ระดับหนึ่งแต่ว่าถึงตอนที่ต้อง retrive ข้อมูลกลับออกมาก็ต้องมีพร้อมและกระทำได้ด้วยครับ

และที่ผมกล่าวไปข้างต้นก็เป็นกิจกรรมหลักๆที่จะเกิดขึ้นบน CRM ที่ทางพนักงานขายหรือ sales ทั้งหมด และ หัวหน้าที่ดูแลงานขายจะเกี่ยวข้องครับ (แน่นอนว่าผู้บริหารอยากจะมี account username เพื่อเปิดเข้ามาดูก็ได้ไม่ว่ากัน่นะครับ ถ้าหากว่าอยากจะบริหารแบบใกล้ชิดก็กระทำได้เหมือนกันนะครับ) โดยมากแล้ว ระบบ PO เมื่อมีการรับ order ของลูกค้าเข้ามาสู่ระบบนั้นจะมีอยู่แล้วครับ เพราะว่า มันเป็น ORDER แล้วถ้าหากว่าบริษัทไม่ได้มีระบบนั้นใดๆรองรับไว้นี่ก็แย่แล้ว แต่ว่าระบบ CRM ที่ผมโม้มาได้ประมาณ 30 นาทีแล้ว ก็เป็นระบบที่เป็น add-on function เสริม ที่สำคัญ และองค์กรปกติจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญแต่อย่างใดครับ ยังไงซะถ้าหากว่าคุณคิดว่า เรื่องนี้เกี่ยวกับคุณแล้วล่ะก็ แนะนำว่าลอง install Software CRM ที่จัดการผ่าน internet ด้วย hosting ipage.com ได้จากที่นี่แล้วกันนะครับ ลองดู เพราะว่า ในเนื่อด้านในยังมีวิธ๊การปรับแต่งอีกมากมาย ที่ผมคลุกเรียนรู้มันประมาณ 8 ชั่วโมงเพื่อดูว่า เราจะทำอะไรกับมันได้บ้าง แต่ว่า จริงๆ แล้วคุณก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองเหมือนกันน่ะครับ โดนไป host ipage.com แล้วลองใช้ SugarCRM กันแบบส่วนตัวกันเลยครับผม

คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:

  • sugarcrm คู่มือ
  • วิธีใช้ sugarcrm
Submit your comment

Please enter your name

Your name is required

Please enter a valid email address

An email address is required

Please enter your message

rackmanagerpro.com © 2024 All Rights Reserved

Rackmanagerpro.com all right reserved 2007 - 2019

Copyright by Rackmanagerpro.com

Content Creted by Rackmanagerpro.com