สรุปหนังสือเรื่อง Neuro Web Design อะไรทำให้คนคลิ๊ก?
ปกติแล้วถ้าหากว่าผมมีเวลาสักหน่อยก็จะอ่านหนังสือแล้วถ้าหากว่ามีเวลาเหลือจากที่อ่านแล้วผมก็จะพิมพ์สรุปไว้น่ะครับเผื่อว่าพี่ๆน้องๆอยากรู้ว่าผมอ่านแล้วได้อะไรจะได้เข้ามาอ่านได้ และคาดว่าน่าจะได้แนวคิดจากหนังสือเล่มเดียวกันนั้นๆเหมือนกับที่ผมได้ (แต่อย่างว่าล่ะสรุปก็คือสรุปไม่ได้ครบเหมือนกับอ่านเต็มๆอยู่ดีน่ะครับ แต่ก็ดีกว่าไม่ได้อ่านหรือว่าไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลยก็แล้วกัน) หนังสือที่ผมเอามาเล่าให้ฟังคือเรื่อง NEURO WEB DESIGN : What makes them click ? มันจะเป็นแนวของการออกแบบ หรือการเอาเรื่องราวไปใส่ใน website เพือ่ให้เกิดการขายเกิดขึ้นผ่านทางหน้าเว็ป ซึ่งพวกฝรั่งมั่งค่านี่เค้าจะ serious เรื่องแบบนี้มากโดยเฉพาะประเทศอเมริกาเพราะ บ้านเมืองเค้าไปหาซื้อของที่ไหนนอกบ้านก็ลำบาก ข้าวของก็ไม่ได้มีครบแล้วก็แต่ละเมืองก็มีความเจริญอย่างทั่วถึง คือ คนอยู่ไปทั่วการที่จะไปซื้ออะไรได้สักอย่าง จะซื้อ online จะคุ้มค่าและเร็วกว่าที่จะไปหาเอง นอกจากนั้นแล้ว การซื้อของข้ามแดนหรือข้ามรัฐ อาจจะทำให้ไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มด้วยซ้ำ ซึ่งแตกต่างจากการซื้อหน้าร้านมาก เพราะ…
ฉุกคิดสักนิดปรับปรุงความเข้ากันได้ของหน้าร้านจริงและหน้าร้าน online ให้ไปทางเดียวกัน
เนื่องจากผมมีดูแลเว็ปอยู่แห่งหนึ่งที่โดยมีวัตถุประสงค์ของ website เพื่อทำให้เกิดโอกาสการขายผ่านทาง online หรือผ่านทางหน้าร้านจริงให้มากที่สุด โดยการทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกค้าที่หลงเข้ามาผ่านการ promote ผ่านทาง website แล้วสุดท้ายมีการเดินทางแวะเวียนมาที่ร้านค้า offline (หรือร้านค้าจริงๆ) ทั้งนี้วัตถุประสงค์ที่ว่า "เพื่อให้คนมาหน้าร้านนั้น มี assumption อยู่อย่างหนึ่งว่า สิ่งของนั้นๆน่าจะต้องเห็นด้วยตา หรือ ต้องมีการสัมผัสถึงจะมีการสั่งซื้อได้อย่างมีจำนวน" อย่างว่าที่ผมบอกว่าเป็นสมมุติฐานแบบนี้ไว้ก่อนเพราะว่ายังไม่ได้ออกแรงเพื่อที่จะแกะหรือทดสอบแก้ปมว่าสินค้านั้นๆต้องให้คนมาที่ร้านเพื่อสัมผัสจริงๆหรือไม่ หรือแท้ที่จริงแล้ว จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรถ้าหากว่าการสัมผัส หรือเห็นด้วยตาจริงๆนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งก็มีแนวทางที่ผมเห็นเป็นตัวอย่างแล้ว เช่น ร้านค้าที่ขายรองเท้า จำเป็นต้องส่งรองเท้าให้มากคู่ไปยังลูกค้าแทนที่จะให้ลูกค้าเดินทางมาหาที่ร้านค้า โดยมีการ promote การขายในลักษณะของการส่ง shipping…
ประมวลพฤติกรรมการซื้อของ online คนไทยที่(ไม่)เหมือนกับชาวโลกประเทศอื่น
e-commerce เปลี่ยนพฤติกรรมการขายและซื้อแบบไทยจากโลกจริงกันอยู่หลายประเด็นมากทีเดียว และพฤติกรรมการซื้อและขายของคนไทยก็มีเอกลักษณ์จากคนประเทศนอกอีกต่างหาก ถ้าหากว่ารู้อย่างงี้ก็ทำไปตั้งนานแล้ว แต่ผมเองก็ไม่ได้ถึงกึ๋นคนไทยสักเท่าไหร่หรอกครับ ต้องให้คนอื่นเค้ามาบอก และ ก็ต้องเจอกับตัวเองถึงจะรู้น่ะครับเรื่องแบบนี้ แยกเป็นประเด็นๆได้ต่อไปนี้น่ะครับ คนไทยไม่ใช้ระบบ shopping cart : อันนี้วัดได้จากการซื้อสินค้าผ่านหน้าร้าน online ที่ผม set up เอาไว้การซื้อการขายเกิดขึ้น โดยคนซื้อไม่ได้เข้าไปกดปุ่มๆ ที่ซับซ้อน (สำหรับเค้าเหล่านั้น) ซึ่งตัวผมเองมีมุมมองว่า เป็นเรื่องจำเป็นน่ะครับ ที่จะต้องกรอกข้อมูลแล้วเลือกซื้อสินค้าจากระบบที่ทางเว็ปไซท์มี ซึ่งผมก็คิดของผมไปคนเดียวน่ะหละ คนอื่นเค้าไม่ได้คิดแบบผมน่ะครับ คนไทยใช้โทรศัพท์คุยกันเพื่อความอุ่นใจ : เพราะประเทศเราการขายของยังคงต้องการความอุ่นใจว่าสินค้าเหล่านั้นมีผู้ขายอยู่จริง หรือ มีตัวตนอยู่จริง…
Google Checkout Store Gadget เอาสินค้าไปปะไว้ที่เว็ปตัวเองได้ง่ายๆ
ถ้าหากว่าคุณมีของทีอยากจะขายแล้วมีแต่หน้าเว็ปที่ไม่ได้สร้างด้วยระบบ Cart หรือ E-commerce เต็มรูปแบบตอนนี้เราสามารถที่จะใช้ Google Docs เพื่อเป็นตัวจัดการกำหนดสินค้าใน Stock และระบุเนื้อหาของสินค้าได้แล้ว เรียกว่าง่ายสุดๆ ถ้าหากว่าคุณใช้งาน excel เป็นแล้วล่ะก็ ก็แปลว่าคุณจะจัดการกับระบบสินค้าที่คุณจะขายผ่านหน้าเว็ปได้ไม่ยากเลยครับ แล้วมันดียังไงน่ะเหรอ มันดีตรงที่ว่า ถ้าหากว่าคุณมีเว็ปแล้วไม่ได้เป็นระบบ shopping cart หรือมันอาจจะเป็นแค่หน้า weblog เหมือนกับที่ผมเอามาทำให้ดูนี่ก็ทำได้เหมือนกันน่ะครับ สิ่งที่เราต้องทำก็แค่ เข้าไปที่หน้านี้ Google Checkout Store Gadget (lab) แล้วทำตามขั้นตอนไปเรื่อยๆน่ะครับ สุดท้ายคุณก็จะได้ code…
การเลือกเพศให้กับร้านค้า e-commerce:ร้านมีเพศด้วยเหรอ?
แย่(หรือดีอันนี้ไม่แน่ใจ)หน่อยที่ภาษาไทยนั้นมีคำที่บ่งบอกถึงเพศว่า ประโยคที่พิมพ์หรือว่าพูดออกมานั้น คนพูดหรือพิมพ์สื่อความนั้นเป็นคนเพศไหน เช่น ถ้าหากว่าคนที่พูดหรือพิมพ์ว่า ครับ ครับผม หรือผม ก็จะรู้ว่าเป็นเพศชาย หรือพิมพ์ว่า ค้ะ ค่ะ ดิฉัน เดี้ยน (กระแดะไปนิด) ก็จะเป็นเพศหญิง และก็มีอีกหลายคือที่ทั้งสองเพศสามารถที่จะพูดหรือพิมพ์ออกมาได้ โดยที่รู้ด้วยว่าคนที่พูดหรือพิมพ์นั้นเป็นเพศอะไรเป็นฐานกันแน่ เช่น คำว่า จ้ะ จ๊ะ นะจ้ะ เป็นต้น (แหม วันนี้พิมพ์เนื้อความเหมือนกะสอนภาษาไทยเด็กอนุบาลไปหน่อยเหรอป่าวน่ะครับ) และสำหรับร้านค้าจะต้องมีการติอต่อระหว่างกัน โดยการ email หรือเป็นระบบ email template ที่มีการตอบโต้อัตโนมัติ…
ตัวชี้วัดที่ร้านแบบ offline โดยใช้ concept ของ online มาประยุกต์วัด
(วันนี้อาจจะมาแปลกนิดหน่อยเพราะว่เนือ้หาเกือบทั้งหมดจะเป็นเรื่อง offline เกี่ยวกับร้านค้า แต่ก็หาเรื่องเอามาเทียบร้านค้าแบบ online น่ะหละครับ) แน่นอนว่าถ้าหากว่าคนที่เปิดร้านค้าแบบ offline เรียกว่าจะเป้นร้านค้าจริงๆที่มีคนเดิมผ่านไปผ่านมาเราสามารถที่จะกำหนดตัวชี้วัดได้เช่นเดียวกัน คล้ายหรือเหมือนกับโลก online โดยอาจจะใช้ศัพท์แสงแบบเดียวกันมาประยุกต์ใช้ได้เหมือนกันแต่ แน่นอนว่าวิธีการเก็บข้อมูลจะไม่ได้ทำได้ง่ายๆเหมือนกับที่หน้าร้าน online ทำได้ หน้าร้าน offline หรือร้านค้าจริงบนโลกเรานั้นจะมีพนักงานอยู่เพื่อที่จะทำการพูดคุยกับลูกค้าและตอบคำถามได้อย่างรวดเร็วทันที เป็นการใช้ข้อมูลลูกค้าทางตรงแต่ทางตรงกันข้ามแล้ว การเก็บข้อมูลของลูกค้านั้นกลับทำได้ยากกว่า จะต้องออกแรงคิดเพื่อที่จะประเมินให้ได้ว่า หน้าร้านนั้นดี หรือไม่ดีในปัจจัยใด เพื่อจะมาประเมินต่อไปได้ว่า จะต้องทำการปรับเปลี่ยน factor ใดๆ เพื่อให้มีการซื้อขายที่มากขึ้นมาได้อย่างเป็นระบบ แนวคิดนี้ผมอาจจะเอามานึกๆเพื่อเทียบกันได้ระหว่าง offline และ online ดังต่อไปนี้ครับ…