ไปต่างประเทศแนะนำให้เปิด WIFI Calling จากค่ายมือถือไทย

สำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ และต้องการติดต่อกลับมายังประเทศไทย คงกำลังมองหาวิธีการโทรที่ประหยัดและสะดวก แอปพลิเคชั่นสำหรับโทรกลับไทยราคาประหยัดที่เคยให้บริการได้ประกาศปิดตัวลงอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ไม่ต้องกังวล เพราะยังมีอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ นั่นคือ “WiFi Calling” WiFi Calling คืออะไร? WiFi Calling เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้โทรศัพท์มือถือสามารถโทรออกและรับสายผ่านสัญญาณ WiFi ได้ โดยยังคงใช้เบอร์โทรศัพท์และแพ็กเกจเดิมที่ใช้งานในประเทศไทย เปรียบเสมือนการโทรศัพท์ผ่านสัญญาณ WiFi นั่นเอง จริงๆแล้วเราสามารถจับ Wifi Hotspot จากเครื่องอื่นได้ เพื่อทำให้เครื่องปรับตัวเองเป็นเหมือนกับการโทรผ่าน WIFI (มันจะไหลข้อมูลผ่าน Data ไม่ได้)  ข้อดีของการใช้ WiFi Calling ประหยัดค่าใช้จ่าย: ไม่ต้องเสียค่า Roaming ใช้โปรโมชั่นเดิมที่มีอยู่ได้ ใช้งานง่าย: เพียงเชื่อมต่อ WiFi และเปิดใช้งานฟีเจอร์ ก็สามารถโทรออก-รับสายได้ทันที…

ค่าธรรมเนียมรถติดมีเอาไว้ทำอะไรแล้วมันใช้งานได้ผลจริงๆเหรอ ?

ค่าธรรมเนียมรถติด หรือที่เรียกว่า “ค่าใช้จ่ายเพื่อบรรเทารถติด” (Congestion Charge) ถูกเก็บเพื่อควบคุมการจราจรในเขตเมืองที่มีปัญหารถติดอย่างมาก โดยปกติแล้ววัตถุประสงค์หลักของการเก็บค่าธรรมเนียมนี้คือ:   **ลดปริมาณรถยนต์บนถนน** – เพื่อให้คนหันมาใช้ขนส่งสาธารณะ หรือวิธีการเดินทางอื่นที่ช่วยลดปริมาณรถยนต์ส่วนตัว **ปรับปรุงคุณภาพอากาศ** – ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษที่มาจากการจราจรติดขัด **ระดมทุนเพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ** – เงินที่ได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมสามารถนำไปใช้ปรับปรุงบริการขนส่งสาธารณะให้ดีขึ้น   การเก็บค่าธรรมเนียมจะถูกเรียกเก็บเมื่อรถยนต์เข้าไปในเขตที่กำหนด เช่น เขตใจกลางเมืองในเวลาที่มีการจราจรหนาแน่น โดยวิธีการเก็บจะมีหลายรูปแบบ เช่น:   – **ระบบจ่ายล่วงหน้า** – ผู้ขับขี่ต้องทำการจ่ายค่าธรรมเนียมก่อนที่จะเข้าสู่เขตที่เก็บค่าธรรมเนียม – **ระบบอัตโนมัติผ่านป้ายทะเบียน** – กล้องจะถ่ายภาพป้ายทะเบียนรถยนต์เมื่อเข้าสู่เขตที่กำหนด จากนั้นจะส่งใบเรียกเก็บเงินไปยังเจ้าของรถ – **ระบบสติกเกอร์หรือบัตร** – บางพื้นที่อาจมีการขายสติกเกอร์หรือบัตรผ่านที่ต้องแสดงบนรถ   การจ่ายค่าธรรมเนียมมักจะทำได้ผ่านทางออนไลน์…

การพิสูจน์และยืนยันตัวตน: ความสำคัญและความท้าทายในยุคดิจิทัลปีนี้ 2024

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Identity Proof and Authentication) กลายเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมทางการเงิน การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล หรือแม้แต่การเข้าร่วมประชุมออนไลน์ บทความนี้นำเสนอภาพรวมของกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตน พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีศึกษาและข้อสังเกต เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการตัวตนในโลกไซเบอร์ ความแตกต่างระหว่าง “การยืนยันตัวตน” และ “การพิสูจน์ตัวตน” ก่อนอื่น ขอชี้แจงความแตกต่างระหว่าง “การยืนยันตัวตน” (Authentication) และ “การพิสูจน์ตัวตน” (Identity Proof) ซึ่งมักถูกใช้สลับกันไปมา Authentication คือกระบวนการยืนยันว่าเราคือบุคคลที่อ้างตัวว่าเป็นจริง มักใช้ในขั้นตอนการเข้าสู่ระบบ (Login) ตัวอย่างเช่น การใส่ Username/Password, การใช้ OTP (One-Time Password), การสแกนลายนิ้วมือ หรือการสแกนใบหน้า Identity Proof คือกระบวนการแสดงหลักฐานเพื่อยืนยันตัวตนที่แท้จริง เช่น การแสดงบัตรประชาชน, การยื่นเอกสารทางราชการ, หรือการสแกนใบหน้าเพื่อเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล…

ลำดับการกินอาหาร: ผลลัพธ์ที่แท้จริงในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการลดน้ำหนัก

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีข้อมูลมากมายที่แพร่หลายในโลกออนไลน์เกี่ยวกับการกินอาหารตามลำดับขั้น โดยอ้างว่าการบริโภคอาหารบางประเภทก่อนประเภทอื่นๆ สามารถส่งผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการลดน้ำหนัก หลักการนี้มักจะแนะนำให้ทานผักหรือไฟเบอร์ก่อน ตามด้วยโปรตีนและไขมัน ปิดท้ายด้วยคาร์โบไฮเดรต งานวิจัยเบื้องต้นในปี 2015 ดูเหมือนจะสนับสนุนแนวคิดนี้ โดยแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์เชิงบวกในกลุ่มตัวอย่างเล็กๆ ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างไรก็ตาม การศึกษาในวงกว้างและระยะยาวที่ตามมาได้หักล้างข้อเรียกร้องเหล่านี้ Meta-analysis ในปี 2022 ซึ่งตรวจสอบข้อมูลจากการศึกษาหลายชิ้นที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมกว่า 230 คน เปิดเผยว่าลำดับการกินอาหารไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระดับฮีโมโกลบิน A1c (HbA1c) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาว นอกจากนี้ การศึกษายังพบว่าลำดับการกินอาหารไม่ได้นำไปสู่การลดน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยได้ให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับปัจจัยอื่นๆ ที่มีบทบาทในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการลดน้ำหนัก การศึกษาล่าสุดเน้นย้ำถึงความสำคัญของฮอร์โมนสองชนิด คือ Glucagon-like peptide-1 (GLP-1) และ Glucose-dependent insulinotropic polypeptide (GIP) GLP-1…

ข้อควรระวังในการเลือกประกันสุขภาพ: ทำไมไม่ควรผูกกับประกันแบบออมเงิน?

ประกันสุขภาพ: ทำไมไม่ควรฝากไว้กับประกันแบบออมเงิน?   ในยุคที่การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ หลายคนมองหาหลักประกันเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน หนึ่งในทางเลือกที่ได้รับความนิยม คือ การทำประกันสุขภาพ อย่างไรก็ตาม การเลือกซื้อประกันสุขภาพไม่ใช่เพียงแค่การเลือกแผนประกันที่มีเบี้ยประกันถูกที่สุด แต่ควรทำความเข้าใจถึงรายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆอย่างถ่องแท้ บทความนี้นำเสนอประเด็นสำคัญที่หลายคนอาจมองข้าม นั่นคือ “ทำไมจึงไม่ควรนำประกันสุขภาพไปผูกไว้กับประกันแบบออมเงิน” ทำความรู้จักกับประเภทของประกัน ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจก่อนว่า ประกันภัย แบ่งออกเป็นสองประเภทหลักๆ คือ ประกันชีวิต: เป็นสัญญาหลักที่ให้ความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิต โดยจะมอบเงินก้อนให้กับผู้รับผลประโยชน์ที่ได้ระบุไว้ ประกันสุขภาพ: เป็นสัญญาเพิ่มเติมที่ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้เป็น ประเภทค่ารักษาพยาบาล: เช่น ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) ประเภทค่าชดเชย: เช่น ชดเชยรายได้ระหว่างพักรักษาตัวจากโรคร้ายแรง ชดเชยกรณีนอนโรงพยาบาล หรือ ชดเชยกรณีเกิดอุบัติเหตุ ในการทำประกันภัย ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกทำประกันชีวิตเพียงอย่างเดียว หรือ ประกันสุขภาพเพียงอย่างเดียวก็ได้ หรือ สามารถเลือกทำประกันชีวิตเป็นสัญญาหลัก…

มือใหม่ขายของออนไลน์ Lazada-Shopee ไม่ต้องกลัวภาษี! เช็ครายได้ ยื่นแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

ปี 2567 นี้ ถือเป็นปีแรกที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มดังอย่าง Shopee และ Lazada ต้องเตรียมตัวส่งข้อมูลยอดขายให้สรรพากรเพื่อเสียภาษี บอกเลยว่าไม่ยากอย่างที่คิด! ใครที่เพิ่งเริ่มต้นขายของออนไลน์แล้วมีรายได้ผ่านช่องทางเหล่านี้ บทความนี้รวบรวมวิธีเช็ครายได้และยื่นภาษีแบบง่ายๆ สำหรับบุคคลธรรมดา มาให้ทำตามกันแบบ Step-by-Step ขั้นตอนที่ 1: ดึงข้อมูลยอดขายจากแพลตฟอร์ม ก่อนอื่น เราต้องรู้ก่อนว่า ยอดขายที่นำไปคำนวณภาษี ไม่ใช่ยอดเงินที่โอนเข้าบัญชีเรานะ! แต่จะเป็นยอดหลังหักส่วนลดและค่าธรรมเนียมต่างๆ แล้ว แต่ละแพลตฟอร์มมีวิธีดึงข้อมูลต่างกัน ดังนี้ Lazada เข้าสู่ระบบ Lazada Seller Center: ไปที่เว็บไซต์ https://sellercenter.lazada.co.th/ แล้วล็อคอินเข้าสู่ระบบ ไปที่เมนู “การเงิน”: คลิกที่เมนู “การเงิน” บนแถบเมนูหลัก เลือก “รายรับของฉัน”:…

ทำไม GETFIN ถึงเลิกกิจการกันนะ ? 

หากคุณมีโอกาสได้เข้ามาอยู่กรุงเทพประมาณปี 2564 คุณจะเห็นโฆษณาบิลบอร์ดแปะประกาศ และโฆษณา LED ฉายหนังเกี่ยวกับการทำตลาดรูปแบบใหม่ของ GETFIN ทำให้ทุกคนคาดหวังว่า โครงการหรือธุรกิจนี้ มันน่าจะต้องเจ๋งเอามากๆ มีคนทุ่มงบสำหรับการโฆษณามากมายถึงเพียงนี้ และ มีการรับรู้ในวงกว้างเอามากๆ (แค่ชั่วคราวเท่านั้น) คนรับรู้ถือว่าเป็นการทำ ประชาสัมพันธ์ ที่ดีระดับเทพทีเดียวแหละ สำหรับการโฆษณาด้วยงบหนาขนาดนี้ แต่เดี๋ยวก่อน เมื่อเวลาผ่านไปไม่ถึงปี เราก็พบว่า GETFIN เลิกกิจการไปแล้วอย่างถาวร แบบไม่ได้บอกกล่าวอะไร ไม่แม้กระทั่งออกข่าวหรือประกาศไว้ที่หน้าเว็บตัวเองแม้แต่น้อย ที่บอกก็แค่ประกาศ ที่หน้า Facebook ของ GETFIN เองเท่านั้น และ เป็นโพสสุดท้ายก่อนที่ไร้การเคลื่อนไหวใดๆทางการตลาดอีกในที่สุด  เรามาลองวิเคราะห์กันดีหน่อยมั้ยว่า ทำไมโครงการ หรือ ธุรกิจประเภท GETFIN แบบนี้ถึงไปไม่รอดในประเทศไทย หรือ…

โค้ดผู้แนะนำ ZIPMEX เพื่อรับเหรียญฟรีเมื่อเริ่มสมัคร 25 ZMT

โค้ดผู้แนะนำ ZIPMEX สำหรับคนที่สมัคร ZIPMEX ใหม่และจะทำให้ได้การล็อคที่ได้ Bonus มากกว่าปกติถึง 14% APY เราแนะนำให้คุณกรอกรหัสนี้ทุกครั้งที่จะสมัครบัญชีใหม่กับทาง ZIPMEX

รีวิวการใช้งาน DJI MINI SE โดยคนเคยเล่นโดรนของเล่นเด็กๆ

โดรนที่ไม่ใช่ของเล่นพวกนี้เอาไว้เพื่อถ่ายภาพและวีดีโอสำหรับการท่องเที่ยว ทำเนื้อหา หรือแม้กระทั่งทำงานทำการได้จริงๆสำหรับก่อสร้าง อสังหา คนทำที่ดิน โดยจะเอาภาพเหล่านี้เพื่อการนำเสนอ การประเมินราคา และกระทั่งงานขายทรัพย์เหล่านั้น ดังนั้นแล้ว เราไม่ได้เอาโดรนเอาไว้เพื่อใช้อะไรจริงจังมากเท่าไหร่นัก การเลือกใช้โดรนที่มีสเป็กปานกลางนั้นก็อาจจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับคนทั่วไปได้ ด้วยงบไม่เกินกว่า 1 หมื่นบาท  การใช้งานโดรนตอนนี้มีภาครัฐเข้ามาควบคุมทำให้คุณจำเป็นจะต้องขึ้นทะเบียนตัวโดรนเอง ซึ่ง มันอาจจะเป็นหน้าที่ของร้านค้าก็ได้หรือทางคนขับโดรนเองก็ได้แล้วแต่ว่าร้านค้านั้นบริการให้คุณได้มากเพียงไหน แต่ที่แน่ๆหากว่าคุณซื้อโดรนที่เป็น ของเล่น เขาจะไม่ทำเรื่องอะไรพวกนี้ให้กับคุณอยู่แล้ว  โดยตัวโดรนจะต้องขึ้นทะเบียนโดรนผ่านทางหน้าเว็บ https://uav.caat.or.th/ ซึ่งที่เว็บนี้ได้มีรายละเอียดบอกขั้นตอนเอาไว้ทั้งหมดแล้ว แล้วการขึ้นทะเบียนเพื่อขับขี่หรือบังคับโดรนก็ต้องขึ้นทะเบีนนด้วยเช่นเดียวกัน เหมือนกับว่า เราซื้อรถมาก็ต้องมีใบขับขี่ด้วย โดยรถก็จะมีทะเบียนรถ และคนขับรถก็ต้องมีใบขับขี่ยังไงอย่างงั้นก็เลยก็ว่าได้ถ้าหากว่าคุณอยากจะขี่นอกสถานที่ที่ไม่ได้เป็นบ้านของคุณเอง  จริงๆเข้าใจหรอกว่า การทำอะไรพวกนี้ ก็เพื่อความปลอดภัยและ ความเป็นส่วนตัวของเจ้าของสถานที่ ที่โดรนจะเข้าไปบินเล่น เพราะ โดรนระดับนี้มีการถ่ายภาพระหว่างบินได้ ทั้งภาพถ่ายและเป็นวีดีโอ ทำให้เริ่มที่จะไม่ปลอดภัยกับสถานที่คนอื่นเป็นอย่างมาก เพราะ อาจจะบินเข้าไปที่ห้องนอนของบ้านอื่นๆ หรือบินล้ำเข้าไปที่อาคารบ้านเรือนหรือพื้นที่บ้านคนอื่นได้ไม่ยาก…

วิธีการสมัครเพื่อฉีดวัคซีนกับผ่าน ม.33 ผู้ประกันตน ผ่านทาง e-service

ถ้าหากว่าคุณทำงานเป็นรูปแบบบริษัททั้งเป็นเจ้าของบริษัทและพนักงานบริษัท ตอนนี้ พนักงานสามารถขอใช้สิทธิ์เพื่อเข้าฉีดวัคซีนโควิดสิบเก้าได้ผ่าน โครงการจองคิวผ่านระบบ e-service หรือ ที่เรียกเล่นๆกันว่า ม.33 โดยคนที่จะดำเนินการแจ้งกับรัฐคือ เจ้าหน้าที่ HR ของบริษัท หรือเจ้าของบริษัท หรือ ใครก็สุดแล้วแต่ที่มีอำนาจในการเข้าถึงระบบหลังบ้านของ e-service ของประกันสังคมได้ หลักการของการจองฉีดวัคซีนผ่าน ม.33 มีประโยชน์ในเรืื่อง ความเร็วมากกว่าประชาชนคนปกติ ตอนนี้เน่ื่องจากวัคซีนยังคงขาดแคลนและทยอยเข้าประเทศมาเรื่อยๆ โดยรัฐมีแนวคิดว่า จะต้องฉีดตามลำดับความสำคัญดังต่อไปนี้ คือ 1. กลุ่มแพทย์และบุคคลสาธารณสุขทั้งหมด (และคนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณสุข) 2. กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มคน 7 โรคเสี่ยงที่ีเมื่อติดแล้วมีโอกาสโคม่าสูง(หรือเสียชีวิต) 3. กลุ่มคนทำงานบริการตามนโยบายของรัฐเช่น ภาคธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร 4. กลุ่มคนที่อยู่ในระบบประกันสังคมทำงานโรงงานสำนักงานและบริษัทห้างร้านที่อยู่ในระบบ 4. ประชาชนทั่วไปและคนที่ไม่ได้จ่ายเงินประกันสังคม…