หากคุณมีโอกาสได้เข้ามาอยู่กรุงเทพประมาณปี 2564 คุณจะเห็นโฆษณาบิลบอร์ดแปะประกาศ และโฆษณา LED ฉายหนังเกี่ยวกับการทำตลาดรูปแบบใหม่ของ GETFIN ทำให้ทุกคนคาดหวังว่า โครงการหรือธุรกิจนี้ มันน่าจะต้องเจ๋งเอามากๆ มีคนทุ่มงบสำหรับการโฆษณามากมายถึงเพียงนี้ และ มีการรับรู้ในวงกว้างเอามากๆ (แค่ชั่วคราวเท่านั้น) คนรับรู้ถือว่าเป็นการทำ ประชาสัมพันธ์ ที่ดีระดับเทพทีเดียวแหละ สำหรับการโฆษณาด้วยงบหนาขนาดนี้ แต่เดี๋ยวก่อน เมื่อเวลาผ่านไปไม่ถึงปี เราก็พบว่า GETFIN เลิกกิจการไปแล้วอย่างถาวร แบบไม่ได้บอกกล่าวอะไร ไม่แม้กระทั่งออกข่าวหรือประกาศไว้ที่หน้าเว็บตัวเองแม้แต่น้อย ที่บอกก็แค่ประกาศ ที่หน้า Facebook ของ GETFIN เองเท่านั้น และ เป็นโพสสุดท้ายก่อนที่ไร้การเคลื่อนไหวใดๆทางการตลาดอีกในที่สุด
เรามาลองวิเคราะห์กันดีหน่อยมั้ยว่า ทำไมโครงการ หรือ ธุรกิจประเภท GETFIN แบบนี้ถึงไปไม่รอดในประเทศไทย หรือ มันเคยมีประเทศไทยที่ทำแล้วรอดกันด้วยอย่างงั้นหรือ ถึงได้คิดว่า ธุรกิจแบบนี้มันจะไปรอด
เริ่มต้นคุณจะต้องเข้าใจก่อนว่า ธุรกิจ GETFIN นั้นคาดหวังรายได้จากการเก็บ GP หรือรายได้จากการขายได้เหมือนกันเป็นนายหน้าอะไรแบบนั้น โดยคาดว่าจะให้คนอื่นที่ไม่ได้เป็นนักการตลาดมาทำตลาดให้ โดยกะว่า จะให้นักขายที่ไม่ได้เป็นนักขายอะไรเหล่านั้น มาขายของแล้วได้รายได้เป็นส่วนแบ่งกับทาง GETFIN โดยเอาเงินจากเจ้าของร้านค้ามาแจกจ่ายกัน และ โมเดลธุรกิจมีเพียงเท่านั้นเอง สิ่งที่มโนสำหรับธุรกิจประเภทนี้คือ
- GETFIN จะต้องหาวิธีการทำให้ของที่เอามาขายนั้นมีราคาขายสุดท้ายเหมือนกันทั้งหมด ไม่ว่าจะขายผ่านช่องทางไหน ไม่ว่าจะเป็น Lazada หรือ Shopee ก็ต้องทำให้ราคาขายสุดท้ายเหมือนกันให้หมดให้จงได้หากว่า ทำไม่ได้แน่นอนว่า GETFIN น่าจะเป็นร∂าคาแพงสุดอยู่แล้ว เพราะ นอกจากจะต้องแบ่งกับให้กับ GETFIN แล้วยังจะต้องแบ่งให้กับ นักการตลาดหรือนักขาย Freelance เหล่านั้นอีกต่างหาก เรียกได้ว่า … จ่ายซ้อนจ่ายแล้วมันจะประหยัดกว่าได้ยังไงล่ะ ?
- GETFIN อาจจะไม่รู้ก่อนหรือว่า JD.co.th Lazada และ Shopee ก็มี model ประเภท affiliate marketing เหมือนกับที่ GETFIN ทำอยู่แล้ว โดยที่เขาเหล่านั้นไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องได้รายได้จากส่วนนี้เป็นหลักแต่อย่างใด ไม่เหมือนกับ GETFIN ที่กะว่าจะเอารายได้จากสิ่งนี้เป็นหลักเท่านั้น พวก market place ตลาดออนไลน์พวกนี้มีเงินเพื่อขาดทุนเป็นหมื่นล้านต่อเนื่อง และ มีการระดมทุนเพื่อทนการขาดทุนได้ยาวสุดๆ แบบยาวเท่าที่จะทำได้ อาจจะ 8-10 ปีขาดทุนต่อเนื่องก็เห็นมาแล้ว แล้ว GETFIN จะสายป่านดีอะไรแบบนั้นหรือเปล่าล่ะ ซึ่งแน่นอนว่า คำตอบคือไม่ (ปีเดียวก็ปิดไปซะแล้ว ซึ่งถูกต้องที่สุด)
- GETFIN มองว่าการที่คน share สินค้าเพื่อขายกันเองนั้นจะทำได้หากว่ามีคนขายหรือคนแชร์เป็นจำนวนมาก แต่แท้จริงแล้วคนปกติที่สมัครเข้าไปนั้นล้วนไร้คุณภาพ ไม่มีศักยภาพในการขายใดๆ แม้ว่า GETFIN จะมีโปรแกรมการสอนเพื่อแปลงคนธรรมดาให้เป็นสุดยอดนัก social media และ แชร์สินค้าออกไปได้ มันก็จะเป็นส่วนน้อย และ ต้องเป็นระดับเทพเท่านั้นแหละที่ทำได้ โดยเขาจะต้องทำสื่อของตัวเองสะสมฐานคนติดตามของตัวเองและนั่นคือ คนที่หากินกับ Affiliate marketing ของ Market Place ปกติได้อยู่แล้ว และ ไม่ต้องพึ่งพาอะไร GETFIN เลยแม้แต่น้อย
- GETFIN ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรกับแบรนด์หรือร้านค้า แค่แบรนด์มีของก็พอแล้ว และไม่ได้เพิ่มมูลค่าหรือทำตลาดอะไรให้เป็นพิเศษ แต่อย่างใด ไม่เชื่อลองไปดู Facebook ของเขาเองก็ได้ ไม่มีการ Boost Post สินค้าใดๆเป็นพิเศษยอด share ยอด view ต่ำเตี้ยเรี่ยดินราวกับ “คนปกติคนนึง” ก็เท่านั้น แล้วแบบนี้จะเอาอะไรไปสอนคนอื่นๆเพื่อให้เขาเป็นสุดยอดนักโซเชียลกันได้จริงๆอย่างงั้นเหรอ !?
- GETFIN ตั้งใจดีแต่ต้องยอมรับว่า มาผิดทางแล้วแหละ ! ซึ่ง GETFIN ถือได้ว่าเป็น Startup business ที่ฉลาดพอ และ รู้ตัวเร็วกว่าที่คิดเอาไว้ ซึ่งนี่เป็นข้อดีของการเป็นธุรกิจใหม่ แต่นั่นยังไม่ดีพอหรอก หากว่า เขาได้ทดสอบตลาดดูเสียหน่อยว่า มีคนสมัครเป็นคนขายหรือเปล่า มากน้อยแค่ไหน แล้วคนขายเขาขายอะไรให้เราได้หรือไม่จริงๆหรือเปล่าแบบนั้นต่างหากล่ะ ที่จะทำให้เค้ารู้ตัวได้เร็วกกว่านั้น ไม่ต้องเสียเงินไป 18 ล้านกว่าบาทเพื่อทำธุรกิจที่ได้รับการยืนยันมาแล้วว่ามันไม่ Works !
- ประสบการณ์ของผู้บริหารของ GETFIN คาดว่าน่าจะไม่เหมาะกับการเป็น “แอพสำหรับการตลาด” เท่าไหร่นัก ใช่แหละ เขาอาจจะมีประสบการณ์ทางด้านธุรกิจมานานแต่นั้นไม่ได้บอกว่า เขาจะเป็น solution ทางการตลาดได้หรอก การขายของทุกอย่างเพื่อทุกคนได้นั้นเป็นเรื่องที่เกินกำลังคนธรรมดาจะทำได้ด้วยเงินที่จำกัด และ GETFIN อาจจะคิดว่าเงินสัก 20-30 ล้าน มันก็น่าจะมากพอแล้ว แต่นั่นมันเป็นแค่เศษเงินเท่านั้นสำหรับ ธุรกิจระบบ E-commerce ที่เป็น marketplace
- GETFIN ไม่เปลี่ยนแปลง business model หรือพยายามหา Value added เพิ่มเข้าไประหว่างที่พบว่า ไม่มีรายได้อะไรเข้ามาเลย มีแต่รายจ่าย ! จริงๆแล้วถ้าหากว่าทำการโฆษณาแค่สัปดาห์แรก ต้องรู้แล้วแหละว่า มันไม่เวิร์ค และ อาจจะต้องปรับเปลี่ยน business model กันใหม่ ซึ่งมันปรับได้หากเขาไม่ดื้อหรือเกาะติดกับความคิดดั้งเดิมมากเท่าใดนัก ใช่แล้ว สำหรับ startup business การปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าหรือบริการ เป็นกระบวนการ “ท่าบังคับ” ที่เรียกว่า Pivot Model โดยปรับได้มากกว่า 8 มิติ (ที่ไม่ได้เอามาเล่าในที่นี้หรอกนะหาอ่านเอาได้ว่ามันมี Pivot Model อะไรกันได้บ้างเหรอ) เพราะ หากเขามีเงินระดับนั้นแล้ว แน่นอนว่า มีงบมากเพียงพอเพื่อหา Business Model ที่เวริ์คได้อย่างแน่นอน ! ถ้าหากว่าศรัทธาและเชื่อฟัง Startup Concept ให้มากกว่านี้เสียหน่อยก็เท่านั้นเอง
เราไม่รู้หรอกว่าใครเสียหายอะไรแค่ไหน แต่รู้แค่ว่าสื่อโฆษณาที่ออกไปทั้งหมดเป็นเม็ดเงินก้อนโตที่จะต้องมีสัก stakeholder หนึ่งหรือหลายคน ที่ต้องเสียเงินไปกับกิจกรรมเหล่านั้น โดยที่จะต้องเห็นอนาคตอยู่รอมร่อแล้วว่ามันไปไม่ได้หรอก และ ในที่สุดก็ยอดขาดทุนปิดกิจการเอาไว้เท่านั้นพอ ดีแล้วแหละที่ มันไม่ได้เป็นแชร์ลูกโซ่หรือการระดมทุนจากบุคคลทั่วไป แล้วออกมาเป็นคดีกันอีกในรอบปีที่ผ่านมามันก็มากพอแล้ว