รีวิวสเปรย์ฉีดหน้ากากผ้า เพื่อให้ผ้าสะท้อนน้ำลดโอกาสการซึมของน้ำลายหน้ากากผ้า

ได้รับสเปรย์ฉีดหน้ากากผ้าโดยเฉพาะมาขวดหนึ่ง ซึ่งภรรยาเป็นคนซื้อมาให้จากออนไลน์ที่เว็ปของ HYDROVA เองโดยตรง ซึ่งผมก็ได้มีโอกาสคุยกับผู้จำหน่ายเคมีน้ำยาอันนี้ ซึ่งเขาเป็นโรงงานที่นำเข้าสารเคมีและน้ำยาต่างๆจากต่างประเทศสำเร็จรูปหรือมีการผสมน้ำยาเองที่โรงงานในไทย โดยโรงงานแห่งนี้เป็นโรงงานของคนญี่ปุ่นที่เข้ามาดำเนินการในไทยมาเป็นสิบๆปีแล้ว ทั้งนี้ จะไม่บอกว่าเป็นโรงงานอะไรเพื่อจะได้ไม่กระทบกับผู้ผลิตก็แล้วกัน เพราะ บทความนี้ต้องการจะรีวิวจำเพาะตัวผลิตภัณฑ์น้ำยาพ่นหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำนี้เท่านั้น (ไม่ได้ไปรีวิวโรงงานอะไรเค้าหรอก)

บทความยาวเลือกอ่านได้เลย

วีดีโอรีวิวสเปรย์ฉีดหน้ากากผ้า HYDROVA

เพื่อให้คุณเห็นภาพก่อนว่าพวกน้ำยาแบบนี้มันสามารถใช้งานกับหน้ากากผ้าได้จริงๆและ มันจะทำหน้าที่สะท้อนน้ำที่มาโดยหน้ากากผ้าของเราออกไปทันทีหลังจากที่เราลงเคมีพวกนี้เอาไว้บนผ้า โดยการพ่นและรีดร้อนด้วยเตารีด ลองดูวีดีโอรีวิวสเปรย์พ่นหน้ากากผ้ากันดูก่อนเลยเพื่อจะได้เข้าใจเป้าหมายว่าจะฉีดไปทำไมกัน

รีวิววิธีการทำให้หน้ากากผ้าปกติเป็นหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำด้วยการใช้สเปรย์สะท้อนน้ำพ่นเข้าไปบนหน้ากากโดยตรงแล้วรีดทันที

นอกจากนี้พวกสารกันน้ำแบบนี้ได้รับการทดสอบและใช้งานด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศกันตั้งหลายแห่ง และ เป็นสิ่งที่แล็ปตามมหาวิทยาลัยเริ่มทำเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนทั่วไป ในสภาวการณ์ที่ “หน้ากากอนามัย” ขาดแคลนแบบนี้

https://youtu.be/oV9I0luWmvI
ตัวอย่างหน้ากากผ้ากันน้ำ ที่แม่โจ้ ทำการลงน้ำยากันน้ำเพื่อสาธิตให้กับสื่อมวลชนได้ดูกัน

เหตุผลว่าทำไมจึงซื้อหาสเปรย์ฉีดหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำมาใช้ล่ะ ?

สภาพการสะท้อนน้ำของน้ำเปล่าบนผ้าตัวอย่างทั่วไป

เมื่อเดือนก่อนมีโอกาสได้ดูข่าวในช่อง Youtube แล้วพบว่ามีการรีวิวเอาหน้ากากผ้ามาใช้กับน้ำยาพวกฉีดรองเท้าที่มีจำหน่ายกันอยู่แล้วแต่ทั้งนี้เนื่องด้วย ส่วนตัวไม่สามารถหาข้อมูลได้ว่า สินค้าประเภทนั้นเป็นสเป็กเคมีแบบใด แต่ที่แน่ๆ คือ อาจจะไม่ต้องแคร์เรื่องความปลอดภัยสักเท่าไหร่ เนื่องด้วย มันเอาไว้ฉีดกันน้ำกับรองเท้าเป็นหลัก ไม่ใช่หน้ากากผ้าเหมือนที่ทุกคนอยากจะเอามาฉีดกันก็เลยหาดูว่า มีแบรนด์ใดหรือไม่ที่เน้นเอาเคมีหรือน้ำยาสำหรับสิ่งทอโดยเฉพาะมาจำหน่ายเพื่อใช้กับหน้ากากผ้าปรากฏว่า ก็มาเจอกับโรงงานที่ได้กล่าวถึงไปแล้วก่อนหน้านั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นเคมีสิ่งทอโดยแท้จริง

https://youtu.be/y1uLE3fL8zA
VDO Youtube แสดงข่าวเกี่ยวกับการใช้สเปรย์พ่นหน้ากากผ้า โดยอ.อ้อดแนะนำว่าใช้งานได้จริง ที่เป็นข่าวเมื่อเดือนที่แล้ว

ทำไมผมไม่กล้าเอาน้ำยาฉีดรองเท้ามาใช้กับหน้ากากผ้า

คุณอาจจะต้องอ่านต่อด้านล่างว่าแท้ที่จริงแล้วสารพวกนี้จะเป็นกลุ่มของเทฟล่อนเป็นหลัก และสารกลุ่มมันกลับมีหลายสเป็กเอามากๆ โดนจะแยกออกเป็นกลุ่มตั้งแต่ C8 ,C6 และ C0 โดยตัวที่ปลอดภัยสำหรับคนทั่วไปจริงๆคืออย่างน้อยเป็น C6 ซึ่งสารพวก C6 พวกนี้จะได้รับการใช้งานกับอยู่สำหรับเสื้อผ้าและแน่นอนว่า ถ้าหากว่าออกมาใช้สำหรับหน้ากากผ้าโดยเฉพาะก็ต้องเป็น C6 ทั้งนี้บทความนี้มีการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเป็กแยกย่อยของสารกลุ่มนี้ในด้านล่าง กรุณาอ่านต่อไปเรื่อยๆ

แปลกใจมั้ยว่าทำไมเราไม่เรียกมันว่ากันน้ำแต่เรียกว่าสะท้อนน้ำ ?

เพราะการกันน้ำกับการสะท้อนน้ำนั้นไม่เหมือนกันเลยก็ว่าได้ การกันน้ำเราจะเรียกเป็น Water Proof หรือกันไม่ให้น้ำไหลเข้าออกได้และมันจะมีแนวโน้มไม่ให้อากาศไหลผ่านได้อีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่า สำหรับน้ำยาเพื่อการสะท้อนน้ำสำหรับหน้ากากผ้า หรือผ้าใดๆก็แล้วแต่เราต้องการการไหลผ่านเข้าออกได้ของอากาศเป็นปกติอยู่ดี หากใช้เคมีระดับกันน้ำเราไม่ต้อเอาผ้าถักผ้าทอมาทำก็ได้เราไปเอาถุงพลาสติกมาทำเป็นหน้ากากผ้ากันแล้วซินั่น การสะท้อนน้ำทำให้สื่อความได้ถึงการที่น้ำจะไม่สามารถไหลซึมเข้ามาในเนื้อผ้าได้และกลมกลิ้งอยู่อย่างงั้นหรือไหลหยุดผ่านไปเป็นต้น โดยการสะท้อนน้ำนั้นจริงๆแล้ว เราจะต้องดูลึกต่อไปอีกว่า การสะท้อนน้ำนั้นเป็นการสะท้อนน้ำจำเพาะน้ำหรือน้ำมันอีกด้วย 

ทำไมเราต้องแคร์ด้วยว่าน้ำยาฉีดหน้ากากผ้าแล้วมันจะต้องสะท้อนน้ำหรือน้ำมัน หรือสะท้อนน้ำอย่างเดียวได้หรือเปล่า?

น้ำมันจริงๆแล้วก็คือไขมันประเภทหนึ่งเท่านั้น และ แน่นอนว่าน้ำลายเสมหะน้ำมูกไม่ได้มีแต่น้ำ มันจะมีอย่างอื่นที่เป็นไขมันอีกด้วย ทำให้เราอาจจะจำเป็นต้องกันทั้งน้ำและน้ำมันถึงจะดีที่สุด

เนื่องด้วยสภาพของสารคัดหลั่งต่างๆที่ออกจากปากคนมันไม่ได้มีเป็นแค่สภาพของน้ำแต่เพียงอย่างเดียว ! ทำให้น้ำยาสะท้อนน้ำประเภทใดก็แล้วแต่ที่มันเป็นแค่การสะท้อนแต่น้ำจริงๆ เราก็คิดว่าไม่น่าจะเหมาะกับการใช้งานเพื่อพ่นหน้ากากผ้าสักเท่าไหร่เพราะ เราต้องการสะท้อนสารคัดหลั่งที่มันไม่ได้มีจำเพาะน้ำ เช่น เสมหะ น้ำมูก น้ำลาย และอื่นๆ สังเกตได้ว่า มันจะมีไขมัน Lipid ปนอยู่ด้วยนั่นเอง ! ทำให้การสะท้อนน้ำแต่เพียงน้ำอย่างเดียวจะไม่ตอบโจทย์ของปัญหาหรือความคาดหวังของเราได้สักเท่าไหร่ ทำให้คุณจำเป็นต้องรู้ลึกขึ้นไปอีกขั้นเรื่องของการสะท้อนน้ำที่ว่านี้ว่ามันเป็นถึงระดับใดกัน

ทีนี้มาดูหลักการกันก่อนดีกว่าปกติแล้ว การสะท้อนน้ำนั้นจะเกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง ?

ในตลาดใหญ่ๆเราจะเห็นได้ว่ามันจะมีสองพวกด้วยกันคือพวกที่เป็นซิลิโคน และพวกที่เป็นฟูออโรคาร์บอน (Fluorocarbon) ทั้งนี้สารซิลิโคนอาจจะป้องกันน้ำไม่ได้ดีมากนัก จะเทียบกับพวกฟูออโรคาร์บอนไม่ได้เท่าไหร่ แต่อย่างว่าแล้วแต่ว่าจะออกแบบตัวน้ำยากันอย่างไร และจำหน่ายด้วยจุดขายอะไรเป็นสำคัญ ซึ่งหากมองที่ตัวน้ำยาเคมีที่จะกล่าวถึงสำหรับบทความนี้คือ ส่วนของเคมีประเภท Fluorocarbon ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วจะมีการแยกกลุ่มประเภทลึกไปอีกด้วยเหตุผลของความปลอดภัยและเหตุผลของสิ่งแวดล้อม 

ภาพตัวอย่างผิววัตถุที่เป็น HYDROPHOBIC

ไม่ว่าเคมีจะเป็นรูปแบบใดนั้นหลักการคือการที่สารที่เกาะจะทำให้แรงตึงผิวต่ำมากๆทำให้ไม่มีแรงเพียงพอเพื่อไปแยกเจ้าก้อนน้ำได้นั่นเองอธิบายแบบง่ายๆก็แค่นั้น อย่างที่ได้กล่าวไว้ว่าพวกฟูออโรคาร์บอนดันมีหลายกลุ่มหลายชนิดและเรามักจะเรียกกับตามจำนวน Carbon ในวงว่าเป็นวงจำนวน Carbon จำนวนเท่าใด เช่น C0 C6 หรือ C8 โดยถ้าหากว่าคุณไม่อยากอ่านต่อเราแนะนำให้คุณหาซื้อมาใช้เป็น C6 เป็นพื้นฐานสำหรับการพ่นหน้ากากผ้า หรือถ้าหากว่าคุณไม่แคร์ว่าจะต้องกันไขมันด้วยก็เลือกเป็น C0 ได้แต่จะไม่มีคนจำหน่ายสักเท่าไหร่เพื่อการเคลือบหน้ากากผ้าด้วยเหตุผลว่ามันไม่ทนซักมากเท่าใดนัก เรามาดูกันดีกว่าแต่ละตัวมันแตกต่างกันอย่างไร และ ให้ผลต่างกันอย่างไรกัน 

เราจากตัวที่เป็น C0 กันก่อนเลยแล้วกัน 

สำหรับสารสะท้อนน้ำที่เป็น C0 มันจะสะท้อนได้แต่น้ำนั่นแหละ อย่างที่ได้กล่าวไป การสะท้อนได้แค่น้ำมันจะไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการฉีดพ่นหน้ากากผ้าของเราเสียเท่าไหร่นัก แต่มันป็นสารสะท้อนน้ำที่ปลอดภัยสุดๆเลยก็ว่าได้ เรียกได้ว่าไม่มีอะไรที่ต้องระวังเลย แม้กระทั่งอาการแพ้ต่อผิวหนังกันเลย ซึ่งส่วนมากแล้ว มันอาจจะถูกใช้สำหรับหน้ากากอนามัยกันน้ำแบบกันได้แต่ของเหลวที่เป็นน้ำเท่านั้น โดยไม่ต้องเอาไปซักแต่อย่างใด (มันไม่ทนการซักสักเท่าไหร่) ทำให้ C0 ไม่เหมือนกับการเอามาทำกับหน้ากากผ้ามากเท่าใดนัก ซึ่งการทนไม่ได้ต่อการซักนั้นทำให้ C0 จะไม่เหมาะกับการเอามาพ่นผ้าเพื่อหน้ากากผ้าแบบนี้ และ อีกประเด็นสำคัญคือ C0 มันไม่กันน้ำมัน แปลว่า มันจะไม่สามารถสะท้อนไขมัน เสมหะ หรือส่วนของไขมันที่ผสมออกมาจากสารคัดหลั่งได้ ! จึงไม่แนะนำเอามาใช้เพื่อฉีดหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำมูกน้ำลายแบบที่เรากำลังคุยกันอยู่

มาดูสเป็ก C6 ในน้ำยาสะท้อนน้ำกัน

ตัวที่จะเหมาะกว่าสำหรับการเอามาฉีดพ่นกับหน้ากากผ้าเพื่อให้เกิดการสะท้อนน้ำและไขมันก็คือ น้ำยาสะท้อนน้ำตระกูล C6 ซึ่งมันจะสามารถหาซื้อแบบที่ไร้สาร PFOA* ได้ (Perfluorooctanoic acid) ซึ่งมันเป็นสารก่อมะเร็ง โดยมากแล้วเหตุผลที่พวกแบรนด์เสื้อผ้าหันมาใช้ตัวนี้ก็เพราะมันสะท้อนน้ำได้ดีและสะท้อนน้ำมันได้ด้วย โดยไม่โดนข้อครหาว่ามีสารก่อมะเร็งในผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ในบางประเทศก็กำหนดด้วยซำ้ว่า ถ้าหากว่าจะใช้น้ำยาสะท้อนน้ำจะต้องเป็น C6 หรือต่ำกว่า C0 ใช้ได้เช่นเดียวกัน ไม่อย่างงั้นจะไม่รับสินค้าเข้าประเทศเป็นต้น นอกจากนี้ C6 ถ้าหากว่าลงเคมีไปที่ผ้าและทำให้ปฏิกิริยาได้สมบูรณ์ดีอย่างน้อยผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะเครมได้ว่าสามารถทนต่อการซักได้มากกว่า 10 Washes (ซักได้สิบครั้งขึ้นไปวงการสิ่งทอเค้าจะเรียกว่าวอช) 

นี่เป็นอีกนวัฒกรรมหนึ่งที่ทาง Startup ของจุฬามีผลิตเพื่อแจกให้กับบุคคลากรสาธารณะเช่นคนกวาดถนน คนเก็บขยะ และ บุคคลที่ทำงานสาธารณะแม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์โควิดนี้ก็ตาม

สำหรับน้ำยาพ่นหน้ากากที่เอามาใช้ มันก็จะเป็น spec เคมีตัว C6 นี้เช่นเดียวกัน เราได้ขอเอกสารเคมีมาดูแล้วด้วย เพื่อความมั่นใจก่อนที่จะฉีดหน้ากากผ้าของตัวเอง

น้ำยาฉีดพ่นหน้ากากผ้า จะมีการระบุจำนวนความสามารถในการทนต่อการซัก เช่น 10 Washes หรือ 15 Washes แปลว่า ถ้าหากว่าเราฉีดน้ำยาแล้ว เราจะเอาไปซักได้สิบครั้งโดยความสามารถจะยังคงอยู่

ทั้งนี้น้ำยาสเปรย์สะท้อนน้ำสำหรับหน้ากากผ้าที่จำหน่ายแบบใช้ตามบ้านจะเป็นประเภทที่ผ่านการเจือจางด้วยน้ำ RO มาแล้วเพื่อให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมและพร้อมใช้งานทันที ไม่ได้จำหน่ายเป็นหัวเชื้อเข้มข้นเหมือนกับที่โรงงานอุตสาหกรรมใช้กันแต่อย่างใด ทำให้มีความปลอดภัยตั้งแต่ในสภาพของน้ำสารละลายในขวดกันเลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นเรื่องดีแล้วที่มีการออกแบบให้เป็นอย่างงั้น เพราะ ถ้าหากว่าเป็นหัวเชื้อเข้มข้นจริงๆการจัดการจะยากและวุ่นมาก เนื่องด้วยมันเป็นสภาพกรดและมีสัดส่วนการละลายที่แน่นอนแต่ละเนื้อผ้าก็จะไม่เหมือนกันและประสิทธิภาพแตกต่างกันออกไป แต่สำหรับตัวเคมีน้ำยาของ HYDROVA มันการละลายสัดส่วนเพื่อให้สามารถใช้ได้กับทั้งเส้นใยเซลลูโลสและโพลีเอสเตอร์ทั้งหมดแล้ว ละลายสัดส่วนกลางๆเพื่อให้เข้ากันได้กับทุกประเภทเส้นใยว่าอย่างงั้น ทำให้คนทางบ้านเอาไปใช้งานได้สะดวกง่ายไม่ต้องมาชั่งตวงวัดเหมือนกับนักเคมีแต่อย่างใด 

สารสะท้อนน้ำที่เป็น C8 ไม่สามารถใช้ได้กับกรณีนี้

DUPONT ออกมายอมรับว่าสารกันน้ำที่ใช้ที่เป็น C8 นั้นพบว่ามีสารก่อมะเร็งเมื่อประมาณปี 2015 และทำให้ทั่วโลกเข้าใจและมีการวิเคราะห์เคมีในเชิงลึกเพื่อพัฒนาเคมีกันน้ำแบบเดียวกันแต่ปลอดภัยมากกว่า ทำให้มีสารกันน้ำที่เป็น C6 และ C0 ออกมาในตลาดตามลำดับ

สำหรับสารสะท้อนน้ำแบบ C8 มันจะมีความสามารถในการสะท้อนน้ำและน้ำมันได้อย่างดีเยี่ยมและคงทนยึดเกาะได้อย่างแน่นหนาราวกับทางกาวเอาไว้กับมวลสารที่เราอยากจะให้เคมีมันเกาะเลยก็ว่าได้ เรียกได้ว่าประสิทธิภาพดีเยี่ยมจริงๆ แต่มันแลกมาด้วยกับความเป็นพิษ ! ซึ่งตัวที่เราไม่อยากจะให้มีก็คือ สาร PFOA ซึ่งใน C8 จะมีสารแบบนี้ผสมอยู่ด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นแล้ว มันจะไม่ได้เหมาะกับการเอามาใช้เพื่อทำหน้ากากผ้าหรือฉีดพ่นเพื่อสะท้อนน้ำหน้ากากผ้าแบบที่เรากำลังทำการวิเคราะห์กันอยู่เลยก็ว่าได้ ซึ่งถ้าหากว่าคุณซื้อหน้ากากผ้าจากที่ไหนมาสักอย่างโดยเป็นแบรนด์ที่ไม่มีความรู้เรื่องสิ่งทอเคมีสักเท่าใดนักแล้วเขาเลือก C8 มาเป็นสารกันน้ำแปลว่า เขากำลังเอาสารพิษมาแปะที่หน้ากากผ้าให้กับคุณยังไงอย่างงั้น เรียกได้ว่าไม่ดีแน่ๆ และตอนนี้ใครต่อใครก็ทำหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำออกมา แต่กลับไม่มีคนรู้ได้ลึกถึงระดับเคมีที่ใช้กันอยู่แม้แต่น้อย ซึ่งนี่เป็นประเด็นที่ส่วนตัวออกมาพิมพ์ข้อมูลเพื่อเผยแพร่กันให้ทราบว่า เป็นเรื่องที่ต้องระวังและให้แบรนด์เจ้าของสินค้าตรวจสอบเสียหน่อยว่าเคมีที่เอามาทำหน้ากากผ้าหรือ ผ้าสะท้อนน้ำที่ซื้อมาเพื่อเอามาใช้ตัดหน้ากากผ้าเขาใช้เคมีสะท้อนน้ำตระกูลไหนกันแน่ เพราะ ในไทยยังคงมีการผลิตและจำหน่าย C8 จากโรงงานเคมีเพื่อสิ่งทออยู่ !

เอาเป็นว่าเจ้าตัว HYDROVA ที่ได้มาเอามาใช้พ่นหน้ากากผ้าเนี่ยะ ก็ขอเสป็กมาดูเป็นเอกสารที่ออกโดยทางโรงงานที่ผลิตและดูไปถึงแหล่งที่มาที่เป็นวัตถุดิบของทางญี่ปุ่นว่าข้อมูลเป็นอย่างไรก็แล้วก็เลยลองมาเอาใช้ดูมันก็มีความสามารถในการกันน้ำได้ดี (ได้ทดสอบกับน้ำและน้ำมันพืชด้วย) เพื่อดูสภาพของการกันไขมันมีและเอกสารยืนยันว่าเป็น C6-Fluorocarbon ที่ไม่มีสาร AFOA แต่อย่างใดมีการบอกด้วยว่า ไม่มีตามเครื่องวัด ประมาณว่าเครื่องวัดมันไม่บอกว่ามี ซึ่งถ้าหากว่ามันน้อยกว่าเครื่องวัดจะตรวจจับได้ก็จะบอกไม่ได้อยู่ดีจากเครื่องวัดนั้นเอาเป็นก็ถือได้ว่ามีการตรวจเอกสารเชิงลึกประมาณหนึ่งแล้วก็พอไว้ใจได้เพราะได้ดิวกับโรงงานโดยตรงเลยว่าอย่างงั้น

ขั้นตอนการลงน้ำยาสเปรย์ฉีดหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำ HYDROVA

ขั้นตอนการลงน้ำยาสะท้อนน้ำ HYDROVA บนหน้ากากผ้าปกติ

จริงๆแล้วการใช้งานของพวกเคมีน้ำยาสะท้อนน้ำพวกนี้จะมีสองแบบคือแบบไม่ต้องใช้ความร้อนมักจะเป็นพวกซิลิโคนหรือว่าเป็นน้ำยาพวก C0 แตสำหรับ HYDROVA ที่รู้มาจะเป็น C6 ทำให้สเป็กอย่างน้อยน้ำยาพวกนี้จะต้องโดนความร้อน หากมองคู่มือจะพบได้ว่าน้ำยา เมื่อเราฉีดพ่นไปที่หน้ากากผ้าแล้ว เค้าจะบอกให้เราเอาหน้ากากผ้าแบบหมาดๆแบบนั้นแหละไปรีดที่เตารีดเพื่อให้ความร้อนมันทำปฏิกิริยากับหน้ากากผ้าและพันธะลิงค์ไขว้กันในที่สุด ก็จริงๆเรียกได้ว่า ก็ทำงานแบบนี้ก็ทำได้เองที่บ้าน ด้วยเครื่องมือเครื่องมือที่เรามีตามบ้านปกติได้เลย ก็เลยฝากน้ำยาพ่นหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำตัวนี้เอาไว้ที่ห้องซักล้างเป็นการถาวรและบอกวิธีการนี้ให้กับแม่บ้านเพื่อเขาจะได้ใช้เมื่อเห็นว่ามีหน้ากากผ้าส่งมาซัก ซึ่งสอนปั้บก็รู้และทำได้ทันทีเรียกว่าง่ายเลยก็ว่าได้

ความสามารถในการสะท้อนน้ำจริงๆก็เกิดขึ้นทันทึเลยหลังที่หน้ากากผ้าผ่านการรีดร้อนมาแล้ว เมื่อเอาน้ำมาหยดๆดูก็จะพบว่าน้ำกลิ้งออกจากหน้ากากผ้าไปเลยทันที ถือได้ว่า ประสบความสำเร็จสำหรับการฉีดสเปรย์น้ำยาสะท้อนน้ำไปยังหน้ากากผ้าปกติที่เหลือที่อาจจะต้องรีวิวกันต่อคือ ความสามารถในการทนต่อการซัก โดย HYDROVA เครมว่ามีการทนซักได้มากกว่า 10 ครั้งซึ่งกว่าจะไปซักครั้งที่สิบก็ไม่ได้ upload content ใหม่เข้ามาซะที เรียกได้ว่าดองเนื้อหากันเลยก็ว่าได้ถ้าหากว่าจะรอซักกันสิบรอบนะ ก็เลยไม่รอ ทำรอบเดียวมาให้ดูกันก่อนเลยก็แล้วกัน

บทความนี้ได้รับการสนับสนุนของฟรี มาเพิ่มอีกหนึ่งขวดหลังจากที่ภรรยาซื้อมาให้หนึ่งขวดแล้วเพื่อเป็นการขอบคุณสำหรับการทำความบทรีวิวเป็นเชิงลึกที่ไม่ได้รีวิวการใช้งานอะไรเลย เล่นรีวิวแต่เรื่องทางเคมีว่าอย่างงั้น เอาเป็นว่า ถ้าหากว่าผมใช้งานได้สักพักแล้วจะทำเป็นรีวิวการใช้งานเหมือนคนปกติเค้าทำกันอีกบทความนึงก็แล้วกัน

สนใจติดต่อสั่งซื้อสเปรย์ฉีดหน้ากากผ้า HYDROVA ขนาด 100 ml. ได้จากที่ https://hydrovaspray.com เลยแล้วกันครับ ! 

Submit your comment

Please enter your name

Your name is required

Please enter a valid email address

An email address is required

Please enter your message

rackmanagerpro.com © 2024 All Rights Reserved

Rackmanagerpro.com all right reserved 2007 - 2019

Copyright by Rackmanagerpro.com

Content Creted by Rackmanagerpro.com