วิธีการคิดแบบ ทำโลกให้ง่ายเข้าไว้เพื่อการคิดและตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

thinking-simple 

การคิดแบบทำโลกจริงให้ง่ายเข้าไว้เป็นหลักการหนึ่งที่ผมใช้การมาเรื่อย แล้วมันก็ใช้งานได้ด้วยซิ เพราะว่าโลกเรามันซับซ้อนเกินกว่าที่ตัวเราเองจะคิดออกแบบ "รับรู้ได้" มากนัก แต่อย่างไรก็ดี สมองเราก็ยังมี complex ความคิดแบบที่เราไม่รู้ตัวอีกมาก แต่ส่วนความคิดนั้นเป็นส่วนที่เรา ไม่สามารถควบคุมได้ เป็นส่วนที่ "ไม่มีสติรู้คำนึง" แต่อย่างใด การคิดด้วยสมองส่วนไร้สำนึกนั้น จะเป็นการคิดแบบบวกเอาอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องเสียมาก ซึ่งหลายต่อหลายครั้งการคิดแบบนี้เป็นเรื่อง ที่ต้องกระทำ เพราะ ปัจจัยต่างๆ มันมีมากเกินกว่าส่วนที่จะเป็น Logic คิดออกได้อย่างแท้จริง เราก็ต้องพึ่งพาสมองส่วนไร้สำนึก และไม่มีตรรกะใช้ในการคิดและตัดสินใจในเรื่องต่างๆครับ

ความคิดทางฟิสิกส์ หรือ ทางสายวิทยาศาสตร์ จะจำลองโลกเราให้ง่ายเข้าด้วยการ "ควบคุมปัจจัย" (ตัวแปรต่างๆที่จะมีผลกระทบ) ออกไปทั้งหมดเพื่อให้เรารู้ได้อย่างแน่ชัดว่า อะไรเป็นอะไรกันแน่ ตัวอย่าง เช่น ถ้าหากว่าจะศึกษาโรคหรืออาการเกิดโรคใดโรคหนึ่ง ถ้าหากว่าเราได้ฝาแฝดที่คนหนึ่งเป็นโรคและอีกคนร่างกายแข็งแรงดี แปลว่า "เราได้ทำการตัดปัจจัยเรื่องของความไม่เหมือนทางพันธกรรมออกไปแล้วอย่างสิ้นเชิง" (เท่าที่ความรู้ตอนนี้จะมี เพราะ มีการ assume เอาไว้ระดับหนึ่งว่า ความเหมือนระดับโครโมโซม คือ ความเหมือนกันอย่างแท้จริง ไม่มีอะไรไม่เหมือนกัน แต่ก็อีก ละเอาไว้ที่เข้าใจแล้วกันว่า นั้นคือ ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันมันบอกเท่านั้น ไม่แน่ถ้าหากว่าหากหากกันจริงๆแล้วอาจจะมีความต่างอะไรอื่นๆก็ได้) แล้ว ถ้าหากว่าเอาแฝดคู่นี้มาวิเคราะห์ หาว่าอะไรที่ต่าง ที่ทำให้คนหนึ่งเป็นโรคและอีกคนไม่เป็นได้ นั้นก็อาจจะเป็นสาเหตุของโรคร้ายนั้นๆได้น่ะครับ

ที่ยกตัวอย่างเรื่องแฝดไปก็มีประเด็นแค่จะอธิบายว่า แม้นักวิทยาศาสตร์เองก็ต้องการปัจจัยหรือโลกรอบตัวเพื่อการทดสอบ วิจัยอะไรให้มันง่ายเข้าไว้ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ได้สะดวก ในเรื่องต่างๆของโลกเราครับ เพราะงั้นแล้ว ในฐานะที่เราเป็นคนธรรมดาไม่ได้คิดอะไรมากเหมือนพวกนักวิทย์ฯ

เมื่อโลกเราง่ายลงเราสามารถที่จะมองเห็นปัญหาหรือการคาดการณ์ในเรื่องต่างๆได้สะดวกมากขึ้นน่ะครับ เช่น เครื่องจักรถ้าหากว่ามีน้ำมันไหลซึมออกมา มันจะให้ผลร้ายกับคนทำงานกับเครื่องนั้นได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าหากว่าเราเห็นแค่มันซึมออกมาเล็กๆ หัวเราอาจจะมองไม่ออกว่า ปัญหาคืออะไรเหรอ แล้ว มันไหลออกมาแล้วยังไงเหรอ แต่ว่าถ้าหากว่าทำให้โลกหรือสถานการณ์นั้นๆมองให้ได้เห็นเด่นชัด "โดยการขยายส่วน" เพื่อให้คาดการเรื่องต่างๆได้ง่ายขึ้นก็ ผมก็จะคิดแบบนี้น่ะครับ " อืม … ถ้าหากว่าน้ำมันมันไหลออกมามากๆจากเครื่อง น้ำมันมันก็จะนองพื้น คนก็จะเดินเข้าไปที่เครื่องไม่ได้ย่ำไปมันก็จะเละเทะ ไหลเป็นทาง น้ำมันเจิ่งนองไปทั่ว มีกลิ่นเหม็นแล้วก็มีคราบน้ำมันทั่วเครื่องเมื่อเราเช็ดออก แล้วตอนเช็ดก็เช็ดยากอีกตะหาก" สมมุติว่า คิภาพออกมาได้แค่นี้ หรือออกมาเป็นอาการนี้ เราก็จะเห็นปัญหาที่คาดว่าจะเกิดได้ก็คือ พื้นจะเลอะ คนจะลื่นได้ง่ายๆ เครื่องจะไม่สะอาด การทำความสะอาดยากขึ้นเรื่อยๆถ้าหากว่ามีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น คนจะไม่อยากเข้าใกล้เคียงเพราะมันน่าขยะแขยงเป็นที่สุด .. เป็นต้น แม้ว่าแท้ที่จริงแล้ว น้ำมัน มันก็ไม่ได้ไหลออกมาเยอะแยะ แค่คาดคะเนถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ครับ

วิธีการคิดแบบมองโลกให้ง่าย มันใช้ได้กับเรื่องทั่วไปในการคาดการณ์ผลที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในมุมมองอื่นๆ อีกน่ะครับเยอะแยะผมอธิบายตัวอย่างอีกสักอันก็ได้ เช่น ถ้าหากว่าเรามีข้อสงสัยว่าถ้าหาก่วายางรถยนต์มันลมไม่ได้เป็นไปตามที่กำหนด มันน่าจะเป็นอย่างไร เช่น ถ้าหากว่ามันมากขึ้นนี้นิดหน่อย หรือว่ามันเเน่นน้อยกว่านี้นิดหน่อย อาการที่คาดว่าน่าจะเกิดหรือผลที่คาดว่าน่าจะเกิดคืออะไร ?  … คิดแค่นิดหน่อยมันคิดไม่ออกครับ ! เพราะงั้นผมคิดอย่างงี้กันเลยดีกว่า  .. "อืม .. ถ้ายางมันไม่มีลมเลยหรือแบนจัดๆ รถก็น่าจะวิ่งไม่ได้หรือถ้าวิ่งได้ก็วิ่งแบบหนืดสุดๆเหยียบมืดแล้วมันก็ยังไม่ค่อยจะไปเพราะว่าวงล้อเหมือนแค่แผ่นยางในเป็นวงเล็กลง เบรคก็ไม่น่าจะดีสักเท่าไหร่ หรือเบรคไม่ได้เลยด้วยซ้ำ หรือเบรคทีก็แผ่นดอกยางลอกปาดหน้าพื้นกันไปเลย กินน้ำมันสุดๆเพราะอยากให้ไปมันก็ไม่ไปเท่าไหร่ ตัวรถจำต่ำเลียดดิน…" ครับ นั่นแปลว่า คิดแบบขยายกันเข้าไป ก็จะได้การคาดการณ์ว่า ถ้าหากว่ายางมันแบนไปนิดหน่อย มันก็น่าจะกินน้ำมันกว่าปกติเล็กน้อย เหยียบแล้วก็อัตราการกินน้ำมันจะสูงกว่า เพื่อให้ได้ระยะทางหรือความเร่งที่เท่ากัน ดอกยางน่าจะเสื่อมสภาพได้เร็วกว่า เพราะการเบรคจะกินดอกยางกว่าเดิมบ้างไม่มากก็น้อย ทีนี้คุณก็ลองคิดในทางกรณีที่ผมไม่ได้คิดให้ดูว่าจะต้องคิดยังไง ในกรณีของเมื่อลมยางมันมากกว่าทีกำหนดไว้บ้างจะให้ผลเป็นอย่างไร ? (ลองคิดว่าถ้าหากว่ามันเป่งสุดๆจะระเบิดแล้ว ผลมันก็จะเห็นได้ความว่าอย่างไรแล้วก็ลดทอนความรุนแรงนั้นลงน่ะครับ)

โดยรวมแล้วการทำโลกเราให้ง่ายเข้าเพื่อการคิดและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล Logical Thinking อาจจะทำได้โดยการคิดต่อไปนี้เป็นข้อๆหรือเล่นเอามันทุกอย่างรวมกันก็ได้น่ะครับ

การลดทอนตัวแปร : ตัวแปรแปลว่าปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบ ซึ่งความเป็นจริง เรื่องใดๆจะมีตัวแปรมากมายที่อาจจะมีผลกระทบ ทั้งที่เรารู้และไม่รู้ กรณีที่รู้ถ้าหากว่าประเมินไม่ได้อย่างแน่ชัดว่าจะมีผลกี่มากน้อยแล้วล่ะก็ไม่คิดมันซะเลยก็ได้ เพราะ ผลก็จะเหมือนๆกันเพราะเราไม่รู้นี่หน่าว่าผลจะเป็นอย่างไร งั้นเราไม่คิด หรือถอดมันออกจากปัจจัยไปซะก่อนในการคิดครับผม

การลดทอนปริมาณ : ถ้าหากว่าจำเป็นต้องดิวกับตัวเลขหรือข้อมูลทางสถิติเป็นปริมาณมาก เราเดาเอาก่อนได้โดยใช้ตัวเลขที่กลมๆง่ายๆเข้าไป เพื่อทำให้โจทย์ง่ายลง ถ้าหากว่าคุณคิดแบบปริมาณน้อยๆได้แล้วค่อยขยายส่วนออกเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงจริง อาจจะได้แนวคิดอะไรก่อนหน้าเพื่อใช้กับตัวเลขหรือปริมาณจริงได้ไม่ยากน่ะครับ

การขยายส่วนเกินจริง : อันนี้คือการกรณีที่ผมยกตัวอย่างเอาไว้เมื่อครู่ครับ คือ การทำให้เรื่องเกินจริงมากๆ ไม่ว่าจะคิดให้มันน้อยมาก มากไปมากๆ หรือ เกิดเหตุที่มันไม่น่าจะเป็นไปได้แต่ก็จะคิดว่าถ้าหากว่ามันเป็นอย่างงั้น เพื่อให้เราคิดภาพหรือแนวทางใดๆออกมาอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วค่อย soft ภาพนั้น หรือ ความคิดที่ได้นั้นกับส่วนที่สมเหตุสมผลมากขึ้น

การขยายส่วนเกินจริงเป็นวิธีการคิดที่เราจะพบได้บ่อยหน่อยในการออกแบบกระบวนการทำงานใดๆเพื่อรองรับลูกค้าหรือออกแบบ service เช่น ถ้าหากว่าคุณมีปริมาณสินค้ามากๆต่อวัน จะต้องกำหนดให้ใครทำอะไร หรือ ถ้าหากว่าคุณมีลูกค้ามากๆต้องวัน ต้องมีคนทำหน้าที่อะไรบ้างแล้วแบ่งงานกันทำอย่างไร ในทำอะไรทีไหนเมื่อไหร่ ( contact point ลูกค้าหน้าตาเป็นอย่างไร ) คุณจะคิดไม่ครบถ้าหากว่าคุณคิดว่าปริมาณลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการมันน้อยๆ เพราะคุณจะคิดว่า อืม .. เอายังไงก็ได้ ใช้คนเดียวกันทำได้หมด โดยที่คุณจะไม่คิดแยกหน้าที่กัน แม้ว่าแท้ที่จริงแล้ว คุณจะใช้คนๆเดียวทำงานได้แต่สุดท้าย ถ้าหากว่ามันเพิ่มมากขึ้น คุณรู้แล้ว ว่าจะให้ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร และ มากน้อยแค่ไหน เพื่อเป็นการกระจายโหลดงานของคนได้ดีกว่าเดิมครับ

เนื่องนี้จริงๆแล้วจะต้องเน้นการยกตัวอย่างให้มาก แต่ก็อีกแต่ละคนก็อยู่คนละเรื่องละราวการยกตัวอย่างเรื่องยาง มันฟังดูง่ายไป หรือว่าแค่นี้ทำไมต้องมาคิดอย่างงี้ แต่ผมต้องการแค่จะขยายส่วนเพื่อให้คุณได้เห็นภาพลักษณะการคิดเท่านั้นครับ ยังไงซะลองเอากลับไปใช้ ถ้าหากว่าคุณเจอเรื่องใดๆที่จำเป็นต้อง "คิด" และ "ตัดสินใจ" ด้วยเหตุผลครับ ลองขยายส่วนมัน ตัดปัจจัยให้ง่ายเข้า หรือลดปริมาณตัวเลขลงในระดับหน่วยที่สมองเราคิดออกง่ายๆ ทั้งหมดถือเป็นการ "ทำโลกให้ง่ายลง" เพื่อสะดวกในการคิดและตัดสินใจอย่างมีเหตุผลนั่นเองครับ

อ่านแล้วงงๆหรือว่าไม่เก็ตอะไรไม่เข้าใจ หรือ อ่านแล้วว่ามันไร้สาระก็เม้นท์กันหน่อยน่ะครับนั่น .. ก็แค่อยากจะบอกน่ะหละ แหม .. เอาอะไรมากเนาะ อิอิ

2 total pingbacks on this post
Submit your comment

Please enter your name

Your name is required

Please enter a valid email address

An email address is required

Please enter your message

rackmanagerpro.com © 2024 All Rights Reserved

Rackmanagerpro.com all right reserved 2007 - 2019

Copyright by Rackmanagerpro.com

Content Creted by Rackmanagerpro.com