การจัดการบันทึกข้อมูลสินค้าที่เพิ่งซื้อมาเพื่อให้ประโยชน์กับการเครมประกันสูงสุด วิธีที่ผมทำ ทำอย่างงี้ครับ

การจัดการข้อมูลของที่เพิ่งซื้อมา

ถ้าหากว่าผมซื้อสินค้าพวก gadget อะไรใหม่ๆมาผมจะมีวิธีการในการจัดการ และ จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการพลาดซึ่งโอกาสในการ เครมสินค้าให้มากที่สุดครับ จริงๆแล้วก็ไม่ได้มีอะไรมากแค่อยากจะบอกเอาไว้ว่าผมทำยังไงนั่นน่ะหละครับ

ขั้นตอนที่ 1 : ตอนที่ซื้อถามก่อนว่า ถ้าหากว่าจะเครม มีระยะเวลาประกันนานแค่ไหน ?

โดยมากแล้ว จะมีสองจังหวะในการเครมสินค้าประเภท electronic และพวกสินค้า computer ครับ คือ จังหวะการเครมแบบขอเปลี่ยนของได้เลย และ จังหวะสอง คือ การเอาไปซ่อมๆ แบบใช้เวลานาน โดยมากแล้ว พนักงานขายจะบอกออกมา เป้นคำพูดปากเปล่าแต่ ถ้าหากว่าเค้าไม่ได้บอกก็ถามไปเลยน่ะครับว่า "ถ้าหากว่ามันเสียจะเปลี่ยนสินค้าตัวใหม่ จะต้องเอามาเปลี่ยนในกี่วัน?" โดยมากแล้วพนักงานก็จะให้คำตอบมาว่าเจ็ดวันหรือไม่เกิน 1 week จากวันที่ทำการซื้อสินค้าตัวนั้นๆไปน่ะครับ 

สำหรับจังหวะสอง คือ ระยะเวลาในการประกันสินค้า แบบที่เค้าไม่ทำเปลี่ยนให้แน่ๆ (ยกเว้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่ทางสินค้านั้นระบุไว้เช่น เกิดจากความผิดพลาดในการผลิตเป็นต้น) พนักงานขายสินค้า ถ้าหากว่าเป็นสินค้าประเภทอีรุ่ยฉุยแฉะจากร้านทั่วๆไป เค้าก็จะทำการติด sticker เอาไว้ว่าจะหมดเขตการรับประกันเอาไว้เมื่อไหร่ แต่ถ้าหากว่า เค้าไม่ได้แปะ (เช่น TV สีโทรทัศน์) ก็คุณเมื่อกลับมาที่บ้านก็หาอะไรแปะมันไว้น่ะครับ ไม่ยาก ถ้าหากว่าจะแปะให้บอกด้วยว่ามันเป็นวันหมดอายุหรือว่ามันเป็นวันที่เราซื้อมา แต่ว่าจะ make sense มากๆถ้าหากว่าแปะวันที่หมดอายุน่ะครับ เพราะว่า สินค้าแต่ละตัว จะมีอายุการรับประกันที่แตกต่างกันออกไปครับ บางอย่างก็ปีเดียว บางอย่างก็สามปีเป็นต้นครับ

ขั้นตอนที่ 2. เมื่อได้สินค้ากลับมาที่บ้าน จงแกะมันออกจากบรรจง

เพราะว่าอย่างงี้น่ะครับ เยอะครั้งที่การซื้อสินค้าแล้วจะเครมแบบคืนของใน week แลก เพื่อเอาสินค้ารุ่นเดียวกันแต่เป็นตัวใหม่มาให้เรานั้น เค้าจะขอกล่องที่อยู่สภาพที่มัน ok ด้วยน่ะครับ เรียกว่า ถ้าหากว่าแกะดีๆมันก็จะ pack กลับเข้าไปเหมือนใหม่ได้ แล้วก็คืนเค้าได้อย่างไม่น่าเกลียดอะไร เรียกว่า "mint condition" เหมือนใหม่กันเลยก็ว่าได้น่ะครับ จะได้ไม่เสียฟอรฺ์มแล้วเราก็กล้าคืนอย่างไม่ต้องอายใครครับ

ขั้นตอนที่ 3. เมื่อแกะกล่องออกแล้วจงหาที่เก็บเอาไว้อย่างเป็นที่เป็นทาง

สำหรับผมแล้วการเก็บกล่องสินค้าถือว่าเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งในการจัดการกับสินค้าใดๆที่ผมซื้อมาทั้งหมดครับ ผมไม่ได้สะสมกล่องอะไรหรอกนะครับ แต่ว่ากล่องเหล่านั้นจะมีมูลค่ามากถ้าหากว่าคุณจะเอาสินค้านั้นๆไปขาย โดยเฉพาะสินค้าพวกมือถือและอุปกรณ์ electronic อื่นๆ หรือ ที่จำเป็นมากไปกว่านั้นก็คือ สินค้าที่มีการรับประกันตลอดอายุการใช้งาน คือ พวกนี้เค้าจะเอาอะไรที่มันเสื่อมสภาพได้มาเป็นจุดที่จะไม่ต้องมาเครมกันนั่นก็คือ กล่องหรือห่อพลาสติกที่มากับสินค้าของเค้าน่ะครับ เช่นพวก Flash Drive เป็นต้น พวกนี้จะต้องการกล่องเท่านั้นเพื่อที่จะ claim สินค้าคืนครับ ซึ่งผม่วามันก็เข้าใจได้ว่า เพราะมันเล็กเกินกว่าจะแปะ sticker ได้ก็ต้องไปปะไว้ที่กล่องแทน ทำให้กล่องเป็นเรื่องจำเป็นต้องเก็บขึ้นมาทันทีครับผม 

อีกประเด็นที่สำคัญ และเป็นอีกเหตุผลว่าทำไมต้องเก็บกล่องสินค้าให้อยู่ในสภาพดีก็คือ การขายต่อ และ การขายคืนร้านค้า ครับ ถ้าหากว่าคุณรู้ว่ากล่องมีมูลค่า 1000 บาทถ้าหาก่วาคุณเอาไปคืนพร้อมกันมือถือแล้วล่ะก็ยังไงซะกล่องแค่นี้คุณก็จะเก็บน่ะครับผม แล้วถ้าหาก่ว่าคุณเป็นพวกใช้สินค้ากันอย่างถนอมเสียเหลือเกินแล้วล่ะก็ สินค้าและกล่องอยู่ในสภาพดีมากๆ ก็จะขายต่อได้ราคาดีอย่างไม่น่าเชื่อกันเลยก็ว่าได้ครับ

ขั้นตอนที่ 4. ทำการ Note ข้อมูลทั้งหมดที่ Evernote

ให้เปิด program Evernote (ถ้าหากว่าไม่ได้ download ก็เข้าไปหาโหลดกันเองก่อนแล้วกันนะครับ) แล้ว tag ให้ชื่อสินค้านั้นๆ ที่เราจะเลือกหรือ รหัส code รุ่นสินค้า และ ชื่อสามัญที่เราจะเรียกมันครับ เช่น ถ้าหากว่าเราซื้อ TV samsung มาเราก็พิมพ์ใน Evernote ไว้ด้วยว่า "samsung TV" เพื่อที่วันหลังเราเกิดอยากรู้ชื่อรุ่นยี่ห้อหรืออะไรก็สุดแล้วแต่ ก็จะกลับมาดูได้อย่างรวดเร็วครับ ปกติแล้วประเด็นที่ผมจะ note เอาไว้ก็คือ ชื่อรุ่น ซื้อที่ไหน เบอร์ติดต่อเบอร์อะไร ถ้าหากว่ามี แล้วก็พวกวันที่ซื้อ วันที่หมดอายุประกันเครมได้ แล้วก็ราคาที่ซื้อมา (เพื่อที่จะเอาไว้ดูว่าถ้าหากว่าจะทิ้งมันนั้นเราซื้อมาแพงแค่ไหน หรือว่าดูว่าเราซื้อมาแพงขนาดไหน แล้วเราใช้มันคุ้มเหรอป่าวเท่านั้นเองอ่ะครับ หรือเอาไว้อ้างอิง เวลามีคนมาถามว่าซื้อมาเท่าไหร่ ผมก็ควัก Evernote ออกมาแล้วก็ search ดูก็จะรู้ว่าตัวซื้อมาเท่าไหร่น่ะครับ)

ขั้นตอนที่ 5. ทำการกรอกวันที่หมดอายุใน calendar ใน Google Calendar

เพื่อให้ระบบมันเตือนก่อนล่วงหน้าสักประมาณ 1 week ก่อนที่มันจะหมดอายุ หรือ หมดเงื่อนไขในการ update firmware หรือ update อะไรก็สุดแล้วแต่น่ะครับ ยกตัวอย่างเช่น ผมซื้อ Navigator Garmin รุ่นหนึ่งแล้ว เค้าบอกว่าจะ update แผนที่ให้ภายในหนึ่งปี ผมก็ทำการ mark วันที่เอาไว้ ใน Google calendar แล้วบอกตัวเองว่าถ้าหากว่ามันจะหมดแล้วก็ให้ไปที่ศูนย์เพื่อให้เค้าทำการ update ให้ฟรีครับ ผมก็จัดแจงดำเนินการตามนั้นหลังเวลาผ่านไปเกือบครบปี (เรียกว่าวันสุดท้ายเลยก็ว่าได้) ผมก็ให้เค้า update map ให้ฟรีครับ เรียกว่าถ้าหากว่าผมไม่ได้ไป update กันวันนั้นแล้วผมก็ต้องเสียเงิน 450 บาทเพื่อให้เค้า update ให้ (ไม่ฟรีน่ะครับ) เป็นต้น หรือว่าถ้าหากว่าเป็นเงื่อนไขประกันอื่นๆ ก็ให้ดูว่า มีอะไรเสียหายเหรอป่าว week สุดท้ายก่อนที่มันจะหมดระยะประกันเราก็จัดแจงเอาสินค้าเหล่านั้นไปซ่อมซะ (ถ้าหากว่ามันมีอาการอะไรไม่ปกติก็แล้วแต่น่ะครับเอาไปให้เค้าซ่อมเครมได้ทั้งหมดครับผม)

คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:

  • จงบอกวิธีการจัดเก็บข้อมูล
  • จงบอกวิธีการบันทึกข้อมูล
2 total pingbacks on this post
Submit your comment

Please enter your name

Your name is required

Please enter a valid email address

An email address is required

Please enter your message

rackmanagerpro.com © 2024 All Rights Reserved

Rackmanagerpro.com all right reserved 2007 - 2019

Copyright by Rackmanagerpro.com

Content Creted by Rackmanagerpro.com