การทำหน้าเว็บ เพื่อให้มันแสดงผลแบบไร้ขอบหรือไร้หน้า

สำหรับคนที่พิมพ์เนื้อหา website หรือ blog content เราแนะนำให้คุณเลือกใช้ระบบการพิมพ์ผ่าน Google Docs โดยปรัยบเป็นโหมด ที่เรียกว่า Pageless หรือ การไม่แบ่งหน้ากระดาษ สำหรับการทำแบบนี้ จะทำให้คุณพิมพ์เนื้อความได้ต่อเนื่อง โดยไม่ต้องสนเรื่องหน้ากระดาษ ก็เพราะว่า ที่หน้าเว็บ มันไม่มีหน้ากระดาษอะไรให้แสดงผลอยู่แล้ว มีก็แต่การปรับขึ้นย่อหน้าใหม่ หรือ การขึ้นบรรทัดใหม่ ก็เท่านั้น ดังนั้นแล้วการพิมพ์เอกสารเนื้อความใดๆ ใน Google Docs ประเภท ไร้หน้ากระดาษ จะทำให้เราเห็นผลการแสดงให้เหมือนกับคล้ายกับการพิมพ์บนหน้าเว็บได้ดีกว่าอยู่ดี 

วิธีการทำการเปิดโหมด ไร้หน้ากระดาษใน Google Docs

เลือกไปที่ ไฟล์ > การตั้งค่าหน้ากระดาษ > ไม่มีการแบ่งหน้า แล้วก็เริ่มพิมพ์ได้เลย ! 

ทำไมเราถึงเลือกที่จะพิมพ์เนื้อหาใน Google Docs 

จากประสบการณ์การพิมพ์บทความมากๆ คุณจะมีโอกาสได้พบกับปัญหาที่ internet ดับระหว่างการพิมพ์ ทำให้ หากคุณต่อผ่าน WordPress แล้วไปพิมพ์เนื้อหาเอาในนั้นแล้ว โอกาสที่คุณจะต้องพิมพ์เนื้อหาใหม่นั้นไม่ได้เป็น 0 แต่อย่างใด และ ที่สำคัญกว่านั้น ในระบบหลังบ้านของ WordPress หากไม่ได้ทำการตั้งค่าอะไรเป็นพิเศษ เราจะพบได้ว่า ระบบ WordPress จะทำการบันทึก Version การพิมพ์ที่หลากหลายเอาไว้ เพื่อเอาไว้แก้ปัญหา internet ดับหรือเราออกระหว่างที่ เรายังไม่ได้ทำการ save draft ได้ แต่นั่นก็แลกกับการกินทรัพยากรเนื้อที่และ version control ใน server ที่เราเอา WordPress ไปติดตั้งเอาไว้อยู่นั่นเอง การพิมพ์เนื้อหา Google Docs นี้ ทำให้ประหยัดข้อมูลตรงนี้ไปได้มาก และ เป็นการแก้ปัญหาไปในตัวอีกด้วย 

ใส่ภาพได้แบบไม่ต้องแคร์เนื้อที่ (สักเท่าไหร่นัก) 

สำหรับการเอาภาพใส่เข้าหน้าเว็บ หากคุณใส่ภาพใน Google Docs เหมือนกับการทำเอกสารปกติ มันจะเป็นฝาก file ภาพใน Google Drive หรือ มันจะกินเนื้อที่ใน Google Drive ของคุณ แน่นอนว่า มันประหยัดกว่าการเอาเนื้อหาภาพเหล่านั้นไปฝากเอาไว้ที่ Cloud server ของคุณเอง และ ที่แน่ๆ คือ หากคุณจะต้องย้าย file หรือ hosting จะกระทำได้สะดวกมากกว่ามาก เพราะ เนื้อหา file ที่เป็นภาพที่มีขนาดใหญ่นั้นไม่ได้ฝากเอาไว้กับ Host server แต่อย่างใด แต่ภาพทั้งหมดในเนื้อหามันอยู่กับทาง Google แทบทั้งหมด ทำการการเลือกย้าย Hosting server กระทำได้ไวกว่าปกติมาก (มันไม่หนักไฟล์ภาพ) 

อย่างไรก็ดี สำหรับการใส่ภาพในเนื้่อหา blog content หรือ website ก็ควรเป็นภาพที่ผ่านการย่อขนาดมาแล้ว หรือผ่านการแปลงภาพเพื่อให้มันขนาด file ที่เล็กเหมาะสำหรับการแสดงผลใน internet ได้ ตามคำแนะนำของ SEO ของ Google ที่บอกว่า “ต้องการให้เมื่อมีคนเข้ามาที่เว็บแล้วเว็บมันควรจะโหลดออกมาได้ไวเอามากๆ” นั่นหมายความว่า หากคุณใช้ไฟล์ขนาดใหญ่ คนที่เข้ามาเปิดเว็บคุณจะเสียเวลาและเปิดนานกว่าปกติ กลับทางกันหากว่ามันไวมาก ประสบการณ์คนเข้าอ่านเนื้อหาเว็บของคุณ มันจะดีเอามากๆ และ แน่นอนที่สุด Google เองก็ชอบที่จะทำให้คนที่ใช้บริการ Google ได้รับประสบการณ์การอ่านเว็บดี และ นำเว็บของคุณเอาไปแสดงผลในการค้นหาในตำแหน่งที่ดีขึ้นด้วย 

PRO TIPS : แนะนำให้เข้าไปย่อภาพ ผ่าน online service บริการเหล่านี้ที่ใช้ประจำ และ มีมานานเสถียรและสะดวก คือ https://squoosh.app/ แค่คุณลากภาพ คุณก็เลือกขนาดของภาพลงให้เหมาะกับ ด้านกว้างของเนื้อหา blog ของคุณได้แล้ว และ ที่แน่ๆให้คุณเลือก format ประเภทที่ทำให้เนื้อภาพของคุณกินเนื้อที่น้อยที่สุด เพื่อความเร็วในการโหลดไฟล์ภาพ 

PRO TIPS : ติดตั้ง Lazyload plugin ใดๆก็ได้เพื่อที่ทำให้เมื่อ คนอ่านเข้ามาเว็บแล้ว ยังไม่ได้เลื่อนเจอภาพ ภาพก็จะยังไม่โหลดอะไรเอาไว้ก่อน แต่กลับกัน เมื่อเขาเหล่านั้นไถหน้าจอไปเจอภาพ ภาพก็จะโหลดแต่ละภาพออกมาแสดงให้ทันกับที่คนอ่านเนื้อหานั้นจะต้องพบเจอภาพเหล่านั้น การกระทำแบบนี้ จะทำให้ Google โหลดเนื้อหา text  และภาพ ไม่พร้อมกัน ทำให้ประสิทธิภาพการแสดงผลของเว็บโดยรวม ในมุมมองของประสบการณ์ผู้ใช้เว็บนั้นไหลลื่นได้ดีกว่าปกติ 

แล้วเราจะเอาเนื้อหาไปใส่ใน WordPress ได้ยังไงกัน 

ง่ายมาก ! แค่กด ctrl + A เพื่อเลือกตัวหนังสือทั้งหมดและภาพ ใน Googl Docs แล้วไปที่หน้า WordPress เนื้อหาใหม่ แล้วไปกด แปะเอาไว้ด้วยการกด ctrl + c เพื่อก็อปปี้เนื้อหาและภาพทั้งหมดในการกระทำครั้งเดียว จบสิ้นกระบวนการ เร็วสุดๆ นอกจากนี้ บทความนี้ เราได้ทำการ backup ใน Google docs เอาไว้แล้วอีกต่างหาก ได้ประโยชน์สองต่อกันเลยก็ว่าได้ 

Submit your comment

Please enter your name

Your name is required

Please enter a valid email address

An email address is required

Please enter your message

rackmanagerpro.com © 2024 All Rights Reserved

Rackmanagerpro.com all right reserved 2007 - 2019

Copyright by Rackmanagerpro.com

Content Creted by Rackmanagerpro.com