เทคนิคเพื่อทำให้คุณลุกออกจากที่นั่งทำงานบ้างลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ด้วย

stand up just a bit help increase your working life

พักหลังๆนี่มีงาน research ที่พยายามจะบอกว่า การนั่งทำงานนานๆติดต่อกัน ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆมากขึ้น เพราะงั้นแล้ว ถ้าหากว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องทำงาน โดยการนั่งทำ ! (คนที่ยืนทำหรือว่าเดินทำก็ไม่ต้องคิดมากน่ะครับเพราะว่าคุณจะไม่เข้าข่ายนี้แต่ประการใด) ก็ต้องระวังกันหน่อยแล้วล่ะครับ ผมว่าผมมีวิธีการที่จะทำให้พฤติกรรมการทำงานแบบนั่งทำติดต่อกันทั้งวันของคุณหมดไปได้ไม่ยากครับ

เอาเครื่องถ่ายเอกสารไปไว้ไกลๆ : ปกติแล้วเครื่องถ่ายเอกสารจะต้องมีห้องของมันเพราะ เครื่องถ่ายเอกสารแบบที่เป็นฝุ่นดำติดกับหมึกนั้นไม่ได้ปลอดภัยสำหรับคนที่ทำงานที่ไม่ได้มีอากาศถ่ายเทเอามากๆครับ โดยห้องถ่ายเอกสารนี้น่าจะต้องแยกตัวออกไป หรือว่า เดี๋ยวนี้เครื่องถ่ายเอกสารก็จะทำหน้าที่เป็น printer อีกอย่างหนึ่งด้วยครับ ในเมื่อห้องถ่ายเอกสารหรือเครื่องถ่ายเอกสารนี้อยู่ไกลออกไป คุณทำได้สองอย่างคือ สั่งลูกน้องให้ไปเอามา หรืออีกอย่างก็คือ คุณเองลุกเดินไปเอาเอกสารเอง ผมอยากจะแนะนำให้ทำอย่างหลังมากกว่า เพราะ เป็นการ Break จังหวะการทำงานของคุณบ้างเล็กน้อยถึงปานกลาง และเป็นการทำให้คุณ "ไม่นั่ง" ติดต่อกันเพื่อทำงานครับ produtivity จะเสียไปบ้างแต่ก็ทำให้คุณเองมีชีวิตที่ยาวขึ้นได้ไม่ยากเลย

เอาเครื่องกดน้ำไปไว้ไกลๆ : นี่ก็เป็นอีกอย่างที่น่าจะต้องทำ โดยคุณต้องรู้ตัวเองเสียก่อนว่า คุณต้องกินน้ำครับ โดยเมื่อน้ำในแก้วหมด จงอย่าขยันนั่งทำงานอยู่ที่โต็ะโดยไม่กินน้ำ ขอจงให้ลุกออกจากเก้าอิ้เอาแก้วน้ำติดตัวไปแล้ว เดินไปกดน้ำที่ cooler น้ำครับ หรือจะแวะแซวเพื่อนๆพี่ๆน้องๆที่ทำงานสักหน่อย แต่ที่สำคัญก็คือ มีการลุกและเดินเพื่อไปกดน้ำครับ

แทนที่จะโทรศัพท์เดินไปแทนเลยดีกว่า : มุขนี้ก็จะเหมือนเดิมน่ะครับ คือว่าเราหาเรื่องที่จะลุกเดิน แล้วยิ่งถ้าหากว่าเป็นพนักงานที่อยู่ต่างแผนกแล้ว การเดินทางด้วยเท้าของเราก็จะไกลขึ้น แล้วยิ่งไกลและมีบันไดด้วยก็ยิ่งดีใหญ่ครับ เพราะการเดินบันไดเป็นเผาพลังงาน ทำให้กล้ามเนื้อต้นขาโดนใช้งานได้ดีมากๆครับผม การเดินไปหานอกจากเป็นการให้เกียรติคนที่จะคุยด้วยแล้ว ยังเป็นการทำให้เราได้ออกกำลังกาย และ หรือ เป็นการสื่อสารแบบ Face to Face ทีมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกต่างหาก ในทางกลับกันนะครับ แนะนำว่าให้ให้ลูกน้องเดินมาหาคุณบ้างก็ได้เพื่อให้เค้าเหล่านั้นได้ออกกำลังกาย จะได้มีชีวิตที่ยาวนานไม่เกิดปัญหาอันเนื่องมาจากการนั่งทำงาน office ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

เดินไปเข้าห้องน้ำเยอะครั้งหน่อย โดยการกินน้ำเข้าไปให้มาก : น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับคนที่ต้องทำงานแบบใช้สมองครับ (ไม่ใช่กาแฟ) น้ำเปล่า เราสามารถเดินไปที่ cooler เพื่อเติมน้ำได้เรื่อยๆ แล้วเราก็ต้องดื่มมันไปเรื่อยๆ เพื่อให้เราปวดห้องน้ำ เมื่อปวดแล้วเราก็เดินไปห้องน้ำ option สำหรับคนที่อยากจะเดินนานกว่านั้นให้เดินไปเข้าห้องน้ำที่ไกลออกไปเป็นประจำ (แต่ว่าไกลมากอาจจะเสียเวลางานได้) ให้เอา iphone เข้าไป chat งานคุยกับลูกน้องในห้องน้ำด้วยก็ได้ถ้าหากว่าคุณคิดว่ามันเสียเวลาๆ ไหนๆก็ต้องเดินแล้ว เดิน chat ไปด้วยดีกว่ามั้ย อะไรทำนองนี้ครับ

TIP : สำหรับคนที่เข้าห้องน้ำแล้วอยากจะใช้พลังงานเยอะกว่าเดิมอีกเล็กน้อย ถ้าหากว่าคุณนั่งโถ แนะนำว่าบอกเจ้านายให้เปลี่ยนเป็นแบบโถยอง จะกินพลังงานต้นขามากกว่าเดิม เพราะคุณต้องย่องเบ่งและลุกขึ้นนั่นเป็นท่า Squad ธรรมดาอย่างน้อยก็ต้องสองครั้งในการเข้าห้องน้ำสำหรับสุภาพสตรีครับ (กล้ามเนื้อต้นขาได้ทำงานทำการครับผม ) สำหรับผู้ชายที่จะใช้โถปัสสาวะชายก็ให้ย่อต้นขาต่ำเล็กน้อย ก็จะเป็นการเกร็งต้นขา เป็นการใช้กล้ามเนื้อต้นขาระหว่างเล็ง และจะเกร็งอย่างมากหากว่ากินเวลานานครับ advanced สุดๆครับสำหรับ case นี้

โดยรวมเอาเป็นว่า content นี้จะขัดกับการมี productive ในที่ทำงานอยู่เอาการแต่ การที่คุณป่วยหรือว่ามีอาการอะไรที่ไม่ดีนั้น ทำให้คุณต้องพักงานนานกว่าที่คุณคาดเอาไว้มาก การใช้กล้ามเนื้อในที่ทำงานนั้นเป็นแค่เรื่องหนึ่งที่คุณจะทำได้ ยังไงซะผมก็แนะนำให้คุณออกกำลังกายแบบจริงจัง official สุดๆไม่ว่าจะเป็นการเดินหรือวิ่งลู่หรือสาธารณะ หรือว่าเข้า Fitness เพื่อออกกำลังกายอย่างน้อย week ละ 3 ครั้งเป็นอย่างต่ำ หรือทำได้ก็ทำมันทุกวันหนักเบาสลับกันไปครับ ลองดูแล้วกันนะครับ ผมชอบที่นั่งยองๆนะครับ ลองทำดูนะครับไม่น่าเกลียดไม่มีคนเห็นหรอกครับห้องน้ำเป็นที่ส่วนบุคคลนะครับไม่ต้องอายก็ได้ อิอิ

คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:

  • ลดต้นขาในขณะนั่งทำงาน
Submit your comment

Please enter your name

Your name is required

Please enter a valid email address

An email address is required

Please enter your message

rackmanagerpro.com © 2024 All Rights Reserved

Rackmanagerpro.com all right reserved 2007 - 2019

Copyright by Rackmanagerpro.com

Content Creted by Rackmanagerpro.com