rackmanagerpro.com

เกิดอะไรขึ้นกับตลาด e-Book ในไทยกันล่ะนั่น ?

เพิ่งจะเคยได้ฟังคนที่เรียกไ้ด้ว่าประสบการณ์ในการทำ Startup กองหน้าออกมาเล่าเรื่องและแนวคิดต่างๆในการประกอบธุรกิจ ก็เลยอยากจะโน้ตเอาไว้เป็นประเด็นๆว่ามีใจความอะไรที่สำคัญมาก และ อะไรที่มองได้ว่าเป็นจุดที่มีความคิดแตกต่างจากการธุรกิจของคนรุ่นก่อนกิจการ Tech Startup จะเกิดขึ้นอย่างเป็นล่ำเป็นสันนี้

คุณหมูในมุมมองของผม เค้าคือ คนที่มีโอกาสได้ทำสิ่งที่องค์กรใหญ่ๆแต่ก่อนเคยทำมาก่อนหน้าแล้วและเลิกล้มที่จะทำมันต่อเนื่องจากพวกนั้นทำก่อนเวลาอันควร (ยุค internet desktop เฟื่องฟู) นั่นก็คือ ทำ EBook Platform เพื่อจำหน่ายกับคนทั่วไป เรียกได้ว่าแปลหนังสือทั้งหมดให้เป็นแค่ไฟล์ไม่กี่เม็กแล้วก็ให้คนโหลดอ่านฟรี หรือเสียเงินรายเดือน รายปี หรือ แม้กระทั่งซื้อกันเป็นไฟล์ๆไปเพื่อให้ได้สิทธิ์อ่านใน Platform อย่างว่าล่ะครับ มันเป็นแค่สิทธิ์การอ่านเฉยๆไม่ได้เป็นการซื้อ Copy ของไฟล์นั้นมาจริงๆอีกต่างหาก กล่าวคือ มันดาวน์โหลดออกมาเป็นเล่มๆอ่านในโปรแกรมอื่นๆไม่ได้ ต้องไปนั่งอ่านในแอพเค้าเท่านั้นซึ่ง มันไม่เหมือนกับการซื้อ Ebook ปกติทั่วไปที่ทำๆกันมา

เคยได้ฟังกลยุทธ์การเติบโตและแฮ็คๆตลาดเมื่อหลายปีก่อน เค้าเคยเล่าว่า การที่ติดต่อกับสำนักพิมพ์ที่กำลังจะหาช่องทางเพื่อเพิ่มรายได้ โดยการเสนอให้มาแปลงเป็นอีบุ้คแล้วแบ่งรายได้กันนั้น ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ดูลงตัวระหว่างสำนักพิมพ์และคนที่ทำ Platform นี้ที่เรียกว่าอุ้คบี ที่เขาได้มีโอกาสทำให้มันเติบโตจากการที่มีผู้ใช้ใหม่เข้ามาเริ่มใช้งาน ดูเหมือนว่า อะไรๆก็เป็นจังหวะที่ลงตัวกันหมด ทั้งเรื่องของสำนักพิมพ์ที่พร้อมเข้ามาร่วม เพราะ ตัวเองก็ทำแทรทฟอร์มเองไม่ได้อยู่แล้ว แค่เอาโค้ดคนอื่นมาเลยมันก็เร็วกว่ามาก แล้วคนก็ใช้มือถือกันเยอะแยะกว่าแต่ก่อนมาก ทั้ง iPhone , iPad และแอนดรอยด์ราคาถูกทำให้นี่เหมือนกับราวว่ามันเป็นโอกาสจากสววรค์กันเลยทีเดียว ! ที่จะทำหน้าที่รับเงินแลกกันสิทธิ์การอ่านข้อมูลของหนังสือทั้งหมดที่มันเคยมีและเคยเป็นมา ถ้าหากว่ามองอนาคตมันก็ต้องดีมากๆแน่ๆเลยก็เพราะว่า ก็ต้องมีคนใช้มือถือและอุปกรณ์ tablet มากกว่าเดิมไปเรื่อยๆ ไม่มีวันน้อยลง แค่จะมีโอกาสที่คงเดิมก็แค่นั้น คนทำเนื้อหาก็น่าจะมีเยอะขึ้น เพราะ ทุกนิตยสารก็ต้องเน้นการหารายได้ผ่านช่องทางออนไลน์แทน โดยใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิมมากซึ่งก็จะทำให้ตัวเองอยู่รอดได้ และ มีรายได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิม คิดแล้วคิดอีกก็มีแต่ดีกับดี ไม่เห็นว่ามันไม่ดียังไงเลย ! และนี่ก็เป็นความคิดวิเคราะห์ของผมเองด้วยเมื่อประมาณห้าปีก่อน เพราะตอนนั้นทุกอย่างก็เป็นอย่างงั้นจริงๆนันน่ะแหละ แต่มันก็มีเรื่องและสถานการณ์อนาคตที่มองไม่เห็นอีกอยู่ดี เพราะ คนเราเห็นโอกาสจะโดนโอกาสบังตาด้วย BIAS ทั้งหลายแหล่ที่หาอ่านได้ในอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็น Confirmation Bias (การมองเห็นแต่เหตุผลยืนยันสมมุติฐานของตนเอง ไม่หาข้อมูลแย้งเลยหรือหาก็ถ่วงน้ำหนักมันน้อยเกินไป) , Sink Cost Bias (เสียดายจากต้นทุนที่ได้ลงไปทั้งเงินหรือเวลาและทรัพยากรอื่นๆ หรือกระจอกสุดคือจิตใจที่ติดอีโก้เข้ากับธุรกิจ) และ ยังมีจุดบังตาทางจิตวิทยาที่หลอกคนที่กำหนดกลยุทธ์ให้เดินไปคนละทางได้

อย่างว่าเมื่อเวลาเดินไปสิ่งที่เป็นตัวบอกได้จริงๆก็คือ เราจะเห็นว่าสถานการณ์มันจะเปลี่ยนแปลงไป เราเรียกสิ่งนี้กันว่า Business Landscape ซึ่งถ้าให้เดาว่ามันแปลยังไงก็ขอเดาว่า มันน่าจะแปลว่า ภูมิธุรกิจ ซึ่งมันจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆด้วยเหตุผลต่างๆมากมายก่ายกองอย่างไม่น่าเชื่อ ก็เหมือนกับคนเล่นหุ้นนั่นน่ะแหละที่จะเห็นราคาหุ้นมันแกว่งๆไปเรื่อยๆด้วยเหตุผลเชิงคุณภาพปัจจัยแวดล้อมยังไงก็อย่างงั้นเลย ทีนี้ก็กลับมาดูว่า เมื่อเวลาเดินหน้าอย่างว่า แล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง จาก Youtube ที่คุณหมูเล่าให้กับเดอะสแตนดาทฟังจะเห็นได้ว่า ธุรกิจดันไปพึ่งพากับธุรกิจที่กำลังจะล้ม คือ การใช้เนื้อหาจากสำนักพิมพ์และเนื้อหาจากนิตยสาร ที่แต่ก่อนคนเหล่านี้ได้เงินเป็นกอยเป็นกำจากการขายกระดาษที่ลงหมึก ทำให้ได้กำไรมาก (เหมือนกับดิจิดอลน่ะแหละแต่กำไรก็แค่น้อยกว่าดิจิดอลก็เท่านั้นเองแต่มันก็มากอยู่ดี) ด้วยความเป็นแพทฟอร์มแล้วก็ไม่ได้คิดจะทำเนื้อหาเอง เพราะ มันจะทำให้เกิดข้อจำกัดว่ามีเนื้อหาเองแล้วก็ต้องออกแรงอีก มันก็ไม่ใส่แพทฟอร์มอ่ะซินั่น คนเขียนเนื้อหาเหล่านั้น โดนเนื้อหาฟรีแย่งไปกันหมด เพราะ มูลค่าของเนื้อหาโดยองค์รวมแล้ว มันด้อยค่าลงกว่าเดิมไปมากด้วยโลกของ internet แบบ content sharing economic เรียกได้ว่า รู้อะไรก็มาแชร์ รู้อะไรก็มาทำเนื้อหา รู้อะไรก็มาแบ่งปัน รู้อะไรก็เล่นไปทำเป็น Youtube Content VDO กันซะฟรีๆ แล้วนิตยสารจะขายมันตรงๆ มันจะมีคนจ่ายเงินเหรอ ในเมื่อของฟรีดีก็มีกันทั้งโลกให้เห็นกันคาตา แน่นอนว่า ราคามันต้องลดลงมาให้มาก และมากพอที่จะสู้กับความฟรีพวกนี้ และ แน่นอนว่า คนเขียนเนื้อหาแบบมีต้นทุนสูงด้วยรูปแบบเดิมๆก็จะไม่คุ้มและตายไปในที่สุด นั่นก็ย่อมส่งผลกระทบต่อแพรทฟอร์มโดยตรงในที่สุดอย่างไม่น่าเชื่อ ! ในทางตรงกับข้ามกลุ่มสื่อเนื้อหาเดิม ก็มีการปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการสร้างรายได้แบบใหม่ในรูปแบบอื่นๆที่คนปกติเขาก็ทำกัน ก็คือ การสร้างเนื้อหาแบบ Blog Content , Facebook Content , Youtube VDO Content และสื่อผสมผสานอื่นๆ เช่น Website Feed ข่าว เป็นต้น สังเกตได้ว่าหรือเปล่าว่า เนื้อหาทั้งหมดนั้นเป็นการใช้แพทฟอร์มฟรีอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในรูปของ Ebook แต่อย่างใด แต่เป็นสื่อผสมผสาน รูป เนื้อหา และ Youtube หรือ Podcast เสียง (เหมือนรายการวิทยุ) และรายได้หลักก็จะมาจากทางเดียว คือ การแบ่งรายได้กับเจ้าของ Platform ทั้งหมดที่ว่ามา และ ผู้ลงโฆษณา เห็นหรือเปล่าว่ามันไม่ต้องเป็น Ebook ก็ได้นี่หน่า

แย่ไปกว่านั้นก็คือ เนื่องจากสำนักพิมพ์ไม่ได้จำเป็นต้องพึ่งพาเพียง Platform เดียว เขาสามารถเลือกที่จะลงเนื้อหา (หนังสือ) เดียวกันนี้กับใครก็ได้ที่คิดว่าสามารถทำตลาดให้กับเชาได้ดี…ทุกราย ไม่ได้ยึดติดกับรายใดรายหนึ่ง ก็เหมือนเราๆท่านๆน่ะแหละว่า เราสามารถขายของ online ด้วยสินค้าเดียวกันได้พร้อมกันทุกที่ เช่น Lazada , Shoppee , website ตัวเอง ที่ทำเป็นระบบ e-commerce และระบบ Chat commerce ต่างๆเช่น LINE shop (ถ้ายังมีคนใช้นะ) @LINE Facebook และ Facebook Messenger ช่องทางนั้นหมด มันจะทำให้โอกาสการขายได้ด้วยกันทั้งสิ้น !

อย่างว่าล่ะครับ คนทำได้ไม่ได้มีคนเดียวเสียหน่อย แล้วมันก็ไม่ได้ยากอะไรถ้าหากว่าคนที่คิดจะทำเป็นคนที่ลงตัวกว่าและมีทรัพยากรอยู่แล้ว และ มีรายได้เป็นกอบเป็นกำอยู่แล้วจากทางอื่นๆ ก็สามารถกระโดดเข้ามาทำได้เมื่อต้องการ หรือดันมีเหตุปัจจัยอะไรไปกระตุ้นต่อมของเขา ..และคนที่กระโดดเข้ามาลองนั่นก็คือ OfficeMate ที่ทำ Platform แบบเดียวกันชื่อว่า MEB ยอดขายของออฟฟิศเมทนั้นเกิดจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายจัดส่งสินค้าประเภทเครื่องใช้สำนักงานให้แก่องค์กรนิติบุคคล ซึ่งถือได้่ว่า เป็น Plafform Commerce มาตั้งแต่ยี่สิบกว่าก่อนหน้าแล้ว ก็แค่รวมภาพของเครื่องใช้สำนักงานทั้งหมด กำหนดรหัสให้มัน แล้วแจกแคตาล็อคนี้ฟรีกับสำนักงานทั้งหมด ถ้าหากว่าลองนึกๆมันก็คือ e-commerce ดีๆเนี่ยะแหละ แต่สั่งทางโทรศัพท์ก็เท่านั้นเอง จัดการสต้อกสินค้าแล้วก็จัดส่งให้ทัน พร้อมทั้งต้องมีวิธีการจัดการเรื่องกระแสเงินสด ที่นิติบุคคลเหล่านี้ออกแบบเวลาเพื่อหน่วงการชำระอีกต่างหาก ลองคิดดูสิว่า คนแบบนี้ มันลงตัวแค่ไหนกับการที่จะทำ Platform Ebook ก็เพราะว่า B2S ก็ของเขา เค้าก็ติดต่อสำนักพิมพ์อยู่แล้วอย่างไม่ต้องสงสัย จำหน่ายได้ทั้งแบบกระดาษเป็นเล่มๆที่หน้าร้านได้ทั้งหมด ก็เลยมาประกอบร่างเอาไฟล์อิเล็คทรอนิกส์จากสำนักพิมพ์พวกนี้เข้ามารวมกันแล้วก็ตั้งตัวเองเป็นอีกแพทฟอร์มนึง เนื่องจากมีเงินถุงอยู่แล้วกับธุรกิจขายของหลักหมื่นล้าน มีสภาพตัวเองเป็นมหาชน อยากจะเสกเงินก็เสกเอาจากวิธีการระดมเงินจากตลาดหุ้นได้ แน่นอนว่าได้เปรียบกว่าเห็นๆ อย่างไม่ต้องสงสัยอะไรทั้งสิ้น หากว่าแพทฟอร์มจะขาดทุนก็ไม่เสียหายอะไรมาก ก็แค่ตัดติ่งออกไปเพราะเป็นรายขาดทุนเศษเงินจากธุรกิจหลักของเขา และพร้อมล้มคนอื่นได้หากมีคนมาขวาง ฮืม .. เล่าแบบนี้เหมือนมันน่ากลัวแต่ก็อย่างว่าแหละ ธุรกิจ ใครจะสนล่ะ ซ้ำร้ายไปกว่านั้น เจ้าของที่บริหาร officemate นี้เป็นสมองกลยุทธ์ระดับพระกาฬที่ซึมซับแนวคิดแบบ Startup มาตั้งแต่ 20 ปีก่อนและได้บริหารงานทุกขาดมาแล้วตั้งแต่ 10 ยัน หมื่นล้านที่จะต้องใช้ Skill set ที่ไม่เหมือนกัน แถมยังยอมรับอีกด้วยว่าอะไรๆก็ไม่แน่นอน ทำให้การป้องกันเชิงกลยุทธ์นั้นเป็นแบบ Adaptive เหมือนธุรกิจเล็กรุ่นใหม่ และมีแนวคิดทดสอบเร็วทดสอบแบบ Startup ฝังรากลึกอีกต่างหาก ! ไม่ใช่คนโบราณคร่ำครึ แต่อย่างใดเลย

การมีคนแบบนี้พร้อมทุนแบบนี้เข้ามาเล่นย่อมเป็นความซวยของคนที่อยู่ในตลาดหวังกินรวบอยู่ก่อนแล้ว และ ซวยซ้อนไปอีกกับสถานการณ์ที่เล่าไปก่อนหน้า ขนาดตลาดนั้นมีจำกัดมาก คนสร้างเนื้อหาก็ลดถอยด้อยลง คนเสพเนื้อหากลับไปเสพแบบอื่นๆฟรีๆ ด้วยกองทัพมดที่ต่างขนขวายสร้างรายได้ยิบๆที่โดนสอนโดยกูรูออนไลน์(รู้บ้างไม่รู้บ้าง) แปลว่า มันไม่มีอะไรจะลงตัวไปกว่านี้แล้ว และ มันก็น่าจะต้องเป็นสาเหตุว่ามันจะไม่โตและไม่น่าจะเป็นโฟกัสของคนทำกลยุทธ์ไปได้ในระยะยาว

เอาเป็นว่าที่เล่ามาทั้งหมด ทุกคนมี mindset แบบเดียวกันหมดแล้ว คือ ลองเล็ก รู้ลึกขึ้นเรื่อยๆเปิดโอกาสทดสอบตลาดใหม่ๆกับการทดสอบเล็กๆที่หลากหลายวิธีการ และผมว่าแนวคิดนี้เป็น Norm ใหม่ของธุรกิจโลกวันนี้แล้ว ซึ่งมันมีรายละเอียดและ Trick มากมายว่ามันจะทำยังไงได้บ้าง และคนอื่นเค้าทำอะไรกันบ้าง นอกจากนี้หนังสือแนวนี้ก็มีไหลออกมาเยอะแยะตั้งแต่ปี 2010 แล้ว มันจะน่าเสียดายมากว่า หากนักธุรกิจรุ่นใหม่และรุ่นเก่าไม่ได้อ่านและไม่ยอมรับสภาพการหาตลาดแบบนี้ คนอ่อนแอก็แพ้ไปเป็นคนพูดที่ได้ยินบ่อยๆ แต่มันก็จริงน่ะแหละสำหรับการเอาตัวรอดในสายธุรกิจที่ความรู้ การสังเกต มันพลวัฒน์ไปเรื่อย ยินดีต้อนรับสู่โลกยุคใหม่ที่การล้มเร็วรู้เร็วเป็นสูตรตายตัวในธุรกิจครับ …​

Exit mobile version